Unplugged coding คือ? รวม 3 กิจกรรมการเขียนโค้ดไม่ต้องใช้คอม

กิจกรรม Unplugged coding เสริมสร้างการเรียนรู้ในหลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์และตรรกศาสตร์ตั้งแต่ปฐมวัย

Category :

Unplugged Coding-01

Unplugged coding เรียน coding โดยไม่ต้องใช้คอม ไม่กลัวสมาธิสั้น

ปัจจุบันเรามักจะได้เห็นว่า เด็ก ๆ มีโอกาสได้ใช้งานและได้ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มากกว่าในสมัยก่อน ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเท่าใดนัก หากเด็ก ๆ จะมีความชำนาญในการใช้งานในเทคโนโลยีเหล่านี้

เพื่อให้สอดรับกับโลกสมัยใหม่ในยุคดิจิตัลนี้ ผู้ปกครองจึงควรที่จะให้ความสนใจในการเสริมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ที่ถูกต้องในการใช้เทคโนโลยีให้กับเด็ก ๆ โดยสร้างกิจกรรมที่พวกเขาสามารถเรียนรู้ทักษะเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องมือสารสนเทศใด ๆ หรือที่เรียกว่า Unplugged coding เพื่อหลีกเลี่ยงในการใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสารสนเทศต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ๆ ได้

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

Unplugged coding คืออะไร

Unplugged coding คือ แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ครอบคลุมและเสริมสร้างความรู้ใน 6 ทักษะของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เป็นพื้นฐานในการ Coding นั่นเอง

Unplugged coding จะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเกมหรือกิจกรรมที่เด็ก ๆ สามารถมีส่วนร่วมได้แบบออฟไลน์ โดยใช้อุปกรณ์ที่จับต้องได้ เช่น ดินสอหรือปากกา

Unplugged coding นั้นเหมาะสำหรับใช้แนะนำคอนเซ็ปต์หรือแนวคิดเกี่ยวกับการ Coding ที่มีความเป็นนามธรรม เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เห็นภาพได้มากขึ้น

การเรียนรู้แบบ Unplugged coding นั้นมีความคล้ายคลึงกับการเรียนรู้รูปแบบ STEM ที่เป็นการเรียนรู้หลักสูตรยุคใหม่ที่เน้นการบูรณาการของวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน โดย STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics หรือการบูรณาการความรู้ระหว่าง 4 สาขาวิชา ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกันนั่นเอง 

Unplugged coding เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่สอนให้เด็ก ๆ ท่องจำเนื้อหาเเพียงเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความเข้าใจเนื้อหาเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริง ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และสอดคล้องกับการเรียนรู้รูปแบบ STEM ศึกษาโดยการเรียน Unplugged coding นั้นเป็นการเรียนรู้ที่บูรณาการสาขาวิชาเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกันนั่นเอง

ประโยชน์ของการเรียนแบบ Unplugged coding

การเรียนรู้แบบ Unplugged coding ปฐมวัยนั้นเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในกับเด็ก ๆ เพราะการเรียน Coding จะต้องใช้หลักการคิดเชิงตรรกะและการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แต่การเรียนรู้ Unplugged coding นั้นจะเน้นการทำกิจกรรมโดยใช้รูปแบบ Gamification ที่นำองค์ประกอบของเกมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ เกิดความสนใจในเนื้อหาและเข้าใจหลักการ Coding พื้นฐานมากขึ้น

นอกจากนี้การเรียนรู้แบบ Unplugged coding ยังเป็นการฝึกสมาธิและความอดทนของเด็ก ๆ อีกด้วยเพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดสิ่งรบกวนต่าง ๆ จากอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ปราศจากหน้าจอเทคโนโลยี ทำให้เด็ก ๆ มีความจดจ่อในสิ่งที่ทำอยู่ได้มากขึ้นนั่นเอง 

1. เสริมสร้างทักษะแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) ให้กับเด็ก

การเรียนรู้แบบ Unplugged coding เป็นอีกหนึ่งการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะแนวคิดเชิงคำนวณที่ดีมากๆ

แนวคิดเชิงคำนวณ คือ การให้ผู้เรียนมีวิธีคิดที่เกิดกระบวนการแก้ปัญหาโดยสามารถวิเคราะห์และคิดอย่างมีตรรกะ เป็นระบบและสร้างสรรค์จากการเข้าใจหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

โดยการเรียนรู้ Unplugged coding เป็นการสร้างความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์และตรรกศาสตร์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ แต่ใช้กิจกรรมการเล่นสนุก ไพ่ ปริศนาเกม เกม กระดาน เครื่องใช้ในบ้านมาประกอบกับแนวคิดนี้เพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ 

2. เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving)

Unplugged coding เป็นการเรียนรู้ที่จะเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา หรือ problem solving ที่เป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทักษะนี้จะช่วยให้บุคคลสามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบขั้นตอน และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นโดยแก้ไขได้ที่ต้นตอทำให้ไม่เกิดปัญหาซ้ำซาก โดยใช้หลักความเข้าใจเชิงตรรกะ ด้วยความที่ทักษะแก้ปัญหา มีความสำคัญเป็นอย่างมากและสามารถนำไปต่อยอดเป็นแนวคิดเชิงนวัตกรรมได้ ทักษะนี้จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นทักษะแห่งอนาคต

เรียนรู้การเรียน coding โดยไม่เสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น

ปัจจุบันการทำงานหรือการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคมีความแพร่หลายเป็นอย่างมากเพราะมีความสะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันแสงจากหน้าจอนั้นส่งผลกระทบมากมายที่หลายคนไม่รู้เช่นกัน ยิ่งหลายคนทำงานกับหน้าจอทั้งวัน เมื่อเสร็จงานแล้วยังเสพความบันเทิงหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ผ่านหน้าจอเหล่านั้นอีกซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้มากกว่าจะเป็นผลดี

อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคมากเกินพอดีจนเรียกว่าการติดหน้าจอนั้น มีผลเสียหลายประการ ไม่เพียงแค่เด็ก ๆ เท่านั้น แต่ในผู้ใหญ่เองก็เช่นกัน โดยผลเสียต่าง ๆ มีดังนี้

  1. แสงจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส่งผลเสียต่อสายตาโดยตรง จึงอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก หรือจอประสาทตาผิดปกติ
  2. การนั่งในท่าเดิมนาน ๆ โดยขยับอวัยวะเพียงเล็กน้อยจากการนั่งอยู่ที่หน้าจอส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น ปวดคอ บ่าไหล่ แขน นิ้วล็อค และยังส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ในเด็ก ๆ อีกด้วย
  3. สมองตอบสนองกับการเล่นสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิค กระตุ้นให้สมองเกิดความสุข ทำให้เกิดโรคติดสุข ที่ส่งผลให้อยากเล่นมากขึ้นเรื่อย ๆ
  4. การที่เราใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่มีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้เสพอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีกิจกรรมความบันเทิงที่เข้าถึงง่ายดายเพียงใช้นิ้วคลิกนั้น เป็นการทำให้สมาธิสั้นลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและการเรียนรู้
  5. ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเพราะติดอยู่กับหน้าจอ ส่งผลให้มีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะไม่ค่อยเข้าสังคม อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า
  6. แสงสีฟ้าจากเครื่องมือสื่อสาร ส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้นอนไม่หลับจึงอาจส่งผลให้มีปัญหาการนอนได้

 

จากข้อเสียในการใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ได้กล่าวไปข้างต้น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวนิวซีแลนด์ 3 คนคือ Tim Bell กับ Ian H. Witten และ Mike Fellows ก็ได้เล็งเห็นถึงผลเสียเหล่านั้นเช่นกันจึงนำเสนอแนวทางการเรียนรู้ใหม่ด้านคอมพิวเตอร์และตรรกศาสตร์แก่เยาวชนก็คือการเรียนรู้ในรูปแบบ Unplugged coding ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงศาสตร์อื่น ๆ อย่างอัลกอริทึม การเขียนโปรแกรม เป็นต้น 

จุดเริ่มต้นการเรียน coding ของเด็ก

การเรียน Programming สำหรับเด็กนั้นเป็นเรื่องที่แน่นอนว่ายากอยู่แล้ว เพราะหากจะให้จับเด็ก ๆ มานั่งท่องจำไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พวกเข้าก็จะมีความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่อง Abstract เข้าใจได้ยาก เพราะเด็ก ๆ ที่ยังไม่ทันที่จะเข้าใจตรรกะต่าง ๆ ได้ดีไม่สามารถเห็นภาพหรือมองคอนเซ็ปต์ของการ Programming หรือ Coding ได้รู้เรื่องอย่างแน่นอน 

ดังนั้นการที่จะให้เด็ก ๆ ได้เริ่มเรียนรู้และฝึกฝนพื้นฐานและทักษะต่างๆของการ Coding และตรรกศาสตร์การเรียนแบบ Unplugged coding จะทำให้พวกเขาเห็นภาพและเข้าใจสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นเพราะ Unplugged coding เป็นการผสมผสานตรรกศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และเพิ่มความสนุกลงไปด้วยการที่ให้เด็ก ๆ เรียนรู้โดยเน้นไปที่กิจกรรม ทำให้เด็ก ๆ ได้เล่นและได้ขยับร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่สร้างเสริมพัฒนาการทั้งทางสมองและร่างกายไปพร้อม ๆ กัน

เริ่มต้นทำกิจกรรม unplugged coding ปฐมวัย และ กิจกรรม unplugged coding มัธยม

1. Sudoku

Sudoku เป็นกิจกรรมในการเรียนรู้วิทยาการคำนวณแบบ Unplugged coding  เพราะการเล่น Sudoku จะใช้การคิดเชิงตรรกะที่ชัดเจน ทำงานในเงื่อนไขที่ต้องวางลำดับตัวเลข 1-9 โดยไม่ซ้ำแถวแนวตั้งและแนวนอนรวมถึงในกรอบ3×3 (9 ช่อง) และถ้ามีตัวเลข 1-9 ที่ซ้ำกัน จะต้องตรวจสอบหาข้อผิดพลาดและแก้ไขให้ถูกต้อง

2. ต่อเลโก้

การต่อบลอก หรือการต่อเลโก้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม Unplugged coding ปฐมวัย ที่เหมาะกับเด็ก ๆ เป็นอย่างมากโดยการที่เด็ก ๆ จะต่อบลอกให้เป็นรูปใดรูปหนึ่งที่พวกเขาอย่างให้เป็นนั้น เขาจะต้องใช้วิธีการคิดวิเคราะห์ผ่านเงื่อนไขมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสี ขนาด หรือรูปร่างของบลอกต่าง ๆ อีกทั้งยังต้องอาศัยจินตนาการของตนเองในการออกแบบรูปร่างอีกด้วย

3. Graph paper programming

กิจกรรม Graph paper programming คือการเรียนรู้ Unplugged coding ที่เรียบง่าย ใช้อุปกรณ์เพียงกระดาษกราฟว่างแผ่นเล็ก ๆ และปากกาหรือดินสอเพียงเท่านั้น โดยเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้การทำงานของคอมพิวเตอร์ผ่านการทำตามคำสั่งของผู้ออกคำสั่งโดยสมมติว่าเป็น Programmer โดยคำสั่งของ Programmer มีทั้งหมด 3 คำสั่ง ได้แก่ เลื่อนไปทางขวา ขึ้นบรรทัดใหม่ ฝนกระดาษ โดยคำสั่งจะเริ่มจากช่องขวามือบนสุดก่อนเสมอ

Unplugged coding กับการเรียน coding ที่ Code Genius

Code Genius เป็น codingacademy สำหรับเด็กที่มีหลักสูตรเรียน coding เด็กที่รองรับกับพัฒนาการของน้อง ๆ ทุกช่วงวัย เราสามารถสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมและการเรียนรู้เชิงตรรกศาสตร์ผ่านกิจกรรม Unplugged coding ให้น้อง ๆ ได้ตั้งแต่ปฐมวัย กิจกรรมของเรามุ่งเน้นไปที่ความสนุกสนานของผู้เรียนเพื่อกระตุ้นในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด น้อง ๆ จะไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับเนื้อหาที่สอนและจะได้ฝึกทักษะการโค้ดดิ้งที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์โดยใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปด้วยโดยไม่รู้ตัวอย่างแน่นอน

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

บทความที่เกี่ยวข้อง