5 ไอเดีย กิจกรรม STEM Education เสริมสร้างความคิดแบบสะเต็มศึกษา

กิจกรรม STEM ง่ายๆ ไอเดียกิจกรรมออนไลน์ สิ่งประดิษฐ์ และ การทดลองวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจําวัน เพื่อเตรียมพร้อมเด็กสำหรับโลกอนาคต

Category :

กิจกรรม stem

5 ไอเดีย กิจกรรม STEM เสริมสร้างความคิดแบบสะเต็มศึกษา ที่ทำได้ที่บ้านง่ายๆ

เลือกอ่านตามหัวข้อ
น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

STEM Education (สะเต็มศึกษา) คืออะไร?

STEM คืออะไร?

STEM Education (กิจกรรมสะเต็มศึกษา) หรือที่เรียกสั้นๆว่า STEM คือการสอนแบบบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่างศาสตร์สาขาต่างๆ โดย STEM ย่อมาจาก วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำวิธีการสอนของแต่ละวิชามาประยุกต์และบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงในการศึกษากิจกรรม STEM มาใช้ในการค้นคว้าและพัฒนาการสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้กิจกรรม STEM ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นในโลกยุคใหม่ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เช่น ทักษะด้าน coding ที่เป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

โดยกิจกรรมการสอนที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในปัญหาเล็ก ๆ จนถึงสามารถนำไปสร้างสิ่งประดิษฐ์ แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันได้อีกด้วย

STEM มีที่มาอย่างไร

กิจกรรม STEM ถูกนำมาใช้เรียกแนวทางการเรียนรู้ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นครั้งแรกโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. National Science Foundation หรือ NSF) ในปี ค.ศ. 2001

STEM ได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกาโดยมาจากรายงานทางการศึกษาที่สำคัญหลายฉบับในช่วงต้นยุค 2000 ซึ่งรายงานเหล่านั้นได้ชี้ให้เห็นว่าการบูรณาการความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 


นอกจากนั้นกิจกรรม STEM ศึกษายังเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องระบบการศึกษา ที่ผลการทดสอบความรู้ของนักเรียนในโครงการประเมินผลระดับนานาชาติหรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีนักเรียนจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานในแง่ความสามารถและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายมุ่งมั่นสนับสนุนการศึกษาด้าน STEM เพื่อเพิ่มศักยภาพของเยาวชนและความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

สาขาวิชาที่เป็นองค์ประกอบของ STEM

STEM นั้นเป็นการบูรณาการสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 4 สาขาวิชาโดยนำเอาแกนหลักของวิชาต่าง ๆ มาผสมผสานกันโดยเน้นให้เกิดการศึกษาไปที่ทักษะและการลงมือปฏิบัติจริงโดย STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics หรือการบูรณาการความรู้ระหว่าง 4 สาขาวิชา ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกันนั่นเอง

4-stem-subjects-infographic

Science (วิทยาศาสตร์)

ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มักจะเน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในธรรมชาติ โดยผู้สอนมักจะใช้วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ในกิจกรรม STEM ด้วยกระบวนการสืบเสาะ (Inquiry-based Science Teaching) กิจกรรมการสอนแบบแก้ปัญหา (Scientific Problem-based Activities) ซึ่งเหมาะกับการวางแผนการสอน STEM ประถมวัยมากกว่าในช่วงวัยอื่น ๆโดยสามารถมุ่งเน้นไปที่ การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ ใน ชีวิต ประ จํา วันเพื่อทำให้ผู้เรียนสนใจและเป็นการง่ายในการจัดการเรียนการสอนอีกทั้งยังเป็นการฝึกการสังเกตพร้อมกับให้องค์ความรู้ใหม่ ๆ แก่ผู้เรียน 

Technology (เทคโนโลยี)

เทคโนโลยี เป็นวิชาใน STEM ที่เกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ  โดยสามารถเริ่มกระตุ้นให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ประเมินจากปัญหาในชีวิตประจำวันเพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยผ่านกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า Engineering Design หรือ Design Process ซึ่งคล้ายกับกิจกรรม STEM ที่มีกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการสืบเสาะและนำมาประยุกต์หรือนำองค์ความรู้ไปสร้างเป็นสิ่ง ประดิษฐ์ วิทยาศาสตร์ ที่ ใช้ ใน ชีวิต ประ จํา วันเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)

วิศวกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่นำมาบูรณาการในกิจกรรม STEM ที่ว่าด้วยการคิดพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ  ด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ศึกษาโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี มารวมกันและต่อยอด ไปเป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมในชีวิตประจําวันใหม่ ๆ โดยใช้หลักการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวก 

หลายคนอาจจะมีความคิดว่าวิศวกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ซับซ้อนเข้าใจยาก ไม่เหมาะในการสอนช่วงวัยเด็ก แต่ในงานวิจัยหลายๆฉบับได้มีผลออกมารับรองว่าสาขาวิชานี้ช่วงวัยอนุบาลก็สามารถเรียนได้และจะยิ่งดีถ้าหากให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานเพื่อนำไปต่อยอดในการศึกษาที่สูงขึ้นไป

Mathematics (คณิตศาสตร์)

คณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ช่วยเชื่อมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน หากพูดถึงสาขาวิชานี้ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงการนับ การคำนวณ ที่เชื่อมโยงกับวิชานี้ แต่ในสาขาวิชาคณิตศาตร์นั้นยังรวมไปถึงองค์ประกอบอื่นที่สำคัญต่อการเรียนรู้อีกหลายอย่างนั่นก็คือ กระบวนการคิดคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) ซึ่งได้แก่การเปรียบเทียบการจำแนกหรือจัดกลุ่ม การจัดแบบรูป และการบอกรูปร่างและคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ ได้จนพัฒนาเป็นโครง งาน STEM ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญคือภาษาคณิตศาสตร์ ผู้เรียนจะสามารถถ่ายทอดความคิดหรือ ความเข้าใจรวมไปถึงความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ได้โดยใช้ภาษาคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร เช่น มากกว่า น้อยกว่า เล็กกว่า ใหญ่กว่า ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจในการเรียนรู้ที่มากยิ่งขึ้น ซึ่ง STEM Education (กิจกรรมสะเต็ม) นั้นให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เต็มประสิทธิภาพ

และองค์ประกอบสุดท้ายคือ การส่งเสริมการคิดคณิตศาสตร์ขั้นสูง (Higher-Level Math Thinking) เป็นกระบวนการซึ่งต้องอาศัยการสะสมความรู้ที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ในการสร้างความรู้ใหม่และขยายแนวคิดที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ผู้สอนต้องมีเครื่องมือในการจัดการเรียนและการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาโดยนำเสนอปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยบทบาทของผู้สอนมีหน้าที่ในการรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน อภิปรายวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันและเปรียบเทียบวิธีการคิด แล้วสรุปเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนสู่หลักการทางคณิตศาสตร์

STEAM Education การศึกษาแบบ STEM ที่เพิ่มสาขาวิชาศิลปะมาบูรณาการเข้ามาด้วย

ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงกิจกรรม STEM เพื่อให้สอดรับกับผู้เรียนทุกคนและให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นโดยได้บูรณาการสาขาวิชาศิลปะ (Arts) เพิ่มเข้ามาเพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดพัฒนาการที่สมวัยในทุก ๆ ด้านรวมถึงในด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปต่อยอดกับองค์ความรู้ต่างๆ

 

ประโยชน์ของ กิจกรรม STEM และการเรียน STEM Education

8-skills-from-stem-subjects

การเรียนรู้ทักษะผ่านกิจกรรม STEM หรือการใช้รูปแบบการเรียนแบบ STEM Education (กิจกรรมสะเต็มศึกษา) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งมุ่งเน้นผ่านการพัฒนาทักษะของผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่

ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) 

คือ ทักษะการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน ด้วยการค้นหาสาเหตุต้นตอของปัญหา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ในระบบหรือในโครงสร้าง ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเรียนรู้ในกิจกรรม STEM เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดเพื่อป้องกันการเกิดปัญหานั้นซ้ำๆ

ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Analysis) 

คือ ทักษะกระบวนการที่ให้บุคคลได้ใช้การไตร่ตรองเหตุผลเป็นการคิดอย่างมีหลักการเพื่อรวบรวม แปลความหมายและประเมินข้อมูลให้สามารถตัดสินสิ่งต่างๆได้เหมาะสม ซึ่ง STEM Education เป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีการคิดที่มากกว่าการให้เหตุผลเพียงอย่างเดียวเดียวสำหรับนำมาใช้ในการตัดสินว่าทางเลือกใดเหมาะสมที่สุด

ทักษะการคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking) 

คือ ทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนซึ่ง STEM Education มีการสอนให้ผู้เรียนมีระบบการคิดโดยมองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายละเอียดที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้สามารถวางระเบียบให้กับการกระทำและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

คือ ทักษะการทำงานร่วมกันของสมาชิกหรือผู้เรียนมากกว่า 1 คนขึ้นไป โดยหัวใจสำคัญก็คือทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกัน และเต็มใจร่วมกันปฎิบัติภาระกิจต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจนไปสู่ความสำเร็จ

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

ทักษะกระบวนการคิดของสมองซึ่งสามารถคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีหรือปฏิบัติได้อย่างรอบคอบและถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและนวัตกรรมซึ่งกิจกรรม STEM ก็เป็นการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่ส่งเสริมทักษะนี้เป็นอย่างมาก

ความคิดริเริ่ม (Initiative)

คือ การมีแนวคิด วิธีการ และขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ ในการพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพและนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดร่วมกันซึ่งต้องอาศัยทักษะความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้จากการทำกิจกรรม STEM เข้ามาประกอบกัน

ทักษะการสื่อสาร (Communication)

คือ ทักษะกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ความรู้สึก หรือ ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การใช้สัญลักษณ์ การแสดงท่าทาง หรือการจัด กิจกรรมต่างๆ ไปยังผู้รับสารให้ได้เข้าใจตรงกัน

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy)

คือ ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันและสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

สื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ STEM

สื่อการสอนในการทำกิจกรรม STEM นั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบ ผู้สอนสามารถเลือกและปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาและช่วงวัยของเด็กๆ เช่น หากต้องการจัดกิจกรรม STEM สนุกๆ ให้กับผู้เรียนที่อยู่ในช่วงปฐมวัย กิจกรรม สะ เต็ม ปฐมวัยนั้นก็ควรที่จะเป็นกิจกรรม STEM ง่ายๆ สำหรับเด็ก ที่ไม่อันตรายและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การฝึกพัฒนาการ

แผนการสอน STEM ประถมก็ควรเน้นไปที่การให้ผู้เรียนได้ทดลองสิ่งต่างๆ เช่น การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ ใน ชีวิต ประ จํา วันต่างๆ เนื่องจากสามารถหาอุปกรณ์ในการทดลองได้ง่ายและผู้เรียนอยู่ในช่วงที่กำลังเริ่มรู้จักใช้งานและคุ้นเคยกับของใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วงการคิดกิจกรรม STEM ป 4 6 ซึ่งเป็นชั้นประถมปลาย อาจจะให้ผู้เรียนคิดสิ่งประดิษฐ์ แก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน ซึ่งเริ่มจากการสร้างสิ่งประดิษฐ์ STEM ง่ายๆ ไปจนถึงการทำโครง งาน STEM

 

ใช้กิจกรรม STEM เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคต

เนื่องจากกิจกรรม STEM คือ การนำหลักของสาขาวิชาต่างๆในข้างต้นที่ได้กล่าวมา ประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการสอนในรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่ความคิดสร้างสรรคืและการรังสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ต่างๆโดยนำองค์ความรู้เดิมมาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจําวัน โดยเริ่มจากการสร้างสิ่ง ประดิษฐ์ STEM ง่ายๆ โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ต่างๆที่ได้พบเจอ 

ซึ่งกิจกรรม STEM จะทำให้ผู้ศึกษามีความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ เกิดกระบวนการตั้งคำถามและมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้และเติบโตในยุคโลกาภิวัฒน์และโลกในยุคดิจิตอล ที่มีนวัตกรรมต่างๆก้าวหน้า

 

ช่วยค้นพบความหลงใหลในการเรียนรู้ จาก STEM Education

กิจกรรม STEM มักจะเน้นให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและหลงใหลในการเรียนรู้ ตัวอย่าง STEM (ส เต ม) ในชีวิตประจำวันก็มีให้เห็นมากมายไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมในชีวิตประจําวัน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต อาจเป็นจุดริเริ่มที่ทำให้ผู้เรียนเกิดสนใจคิดค้นและเริ่มสร้างสิ่งประดิษฐ์ STEM ง่ายๆขึ้นมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของตนเอง

 

5 กิจกรรม STEM ทำได้ที่บ้าน

ในช่วงปฐมวัยหรือวัยเด็กนั้นจะเป็นช่วงวัยที่พร้อมเปิดรับการเรียนรู้อย่างง่ายดาย แต่เมื่อเริ่มเติบโตความใคร่รู้ของเด็กๆจะค่อยๆหายไป จากบทความข้างต้นที่เราพาไปทำความรู้จักกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา) กันแล้วว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และพัฒนาการมากมาย ต่อจากนี้เราจะมาแนะนำวิธีการส่งเสริมสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กๆในแต่ละช่วงวัย โดยเราได้นำตัวอย่างสะเต็มศึกษามาแนะนำกัน 5 กิจกรรมด้วยกัน

1. การเรียนรู้รูปทรงต่างๆผ่านของใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรม STEM ง่ายๆนี้เป็นตัวอย่างSTEMศึกษาปฐมวัย โดยนำของใช้ในชีวิตประจำวันหรือจะเป็นภาพ วิทยาศาสตร์ ใน ชีวิต ประ จํา วันที่มีรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้สังเกตและแยกแยะรูปทรงและสัดส่วนต่างๆของสิ่งนั้น ๆ ทำให้เด็ก ๆ ได้รู้จักสังเกตและสามารถแยกแยะรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ทรงกลม ลูกบาศก์ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม พีระมิด รวมไปถึงทรงกระบอก ในชีวิตประจําวัน จากสิ่งของต่าง ๆ 

2. กิจกรรมสนุกกับฟองสบู่

เกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรม STEM ที่พิ่มระดับความสามารถให้ผู้เรียนด้วยการเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องสร้างฟองสบู่ด้วยตัวเองจากวัสดุง่าย ๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง ฟอง สบู่ การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการส่งเสริมการรเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ โดยมีวิธีทำง่าย ๆ

นำน้ำสบู่ผสมกับน้ำเชื่อมในชามผสมขนาดใหญ่ คนให้เข้ากันทิ้งไว้สักระยะราว 1-2 ชั่วโมง เทลงภาชนะที่ไม่ลึกเกินไปนัก จากนั้นประดิษฐ์ไม้กายสิทธิ์จากไม้แขวนเสื้อใช้แล้ว โดยดัดปลายให้เป็นวงกลม มีด้ามจับ โดยขนาดของฟองสบู่ขึ้นอยู่กับวงกลมของการดัดไม้แขวนเสื้อ สามารถทำขนาดเล็กใหญ่ได้ตามต้องการ อีกทั้งยังช่สามารถสอนเรื่องรูปทรงต่างๆ ในขั้นตอนการดัดห่วงได้อีกด้วย จากนั้นนำไปจุ่มในน้ำสบู่ที่เตรียมไว้ ชูให้สูง ๆ แล้วออกแรงเป่านิดหน่อย หรือปล่อยให้ลมพัด จะเกิดฟองสบู่ปลิวไปมา

3. น้ำพุโคล่า

กิจกรรม STEM นี้เป็นการ ทดลอง วิทยาศาสตร์ ใน ชีวิต ประ จํา วัน เหมาะทั้งในกิจกรรมสะเต็มศึกษา ประถมและอนุบาล เป็นการสอนให้เกิดความเข้าใจในปฏิกริยาทางเคมีกับการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน

ทำการทดลองโดยวางขวดน้ำอัดลมไว้ในบริเวณที่โล่งกว้าง ภายนอกอาคาร ควรใช้น้ำอัดลมอุณหภูมิปกติ ไม่แช่เย็นจะได้ผลดีกว่า แกะเมนทอส 1 แท่ง หย่อนลงไปในขวดน้ำอัดลมที่เตรียมไว้ แล้วรีบถอดออกมาสังเกตการณ์ โดยกิจกรรมนี้สามารถอธิบายได้ว่าเกิดจากการที่เมนทอสทำปฏิกิริยากับน้ำจึงปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเห็นเป็นฟองฟู่ เมื่ออากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้นเข้าแทนที่ของเหลวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เครื่องดื่มพุ่งออกจากขวดนั่นเอง

4. การสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้าน

กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้ผู้ศึกษาได้สังเกตสิ่งรอบตัวและได้รู้จักกับสิ่งมีชีวิตต่างๆในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว รวมถึงยังสามารถสอนวิธีการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแทรกลงไปในการสำรวจได้อีกด้วย อีกทั้งกิจกรรม STEM การสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้านนี้ยังเป็นการฝึกการเรียนรู้เนื้อหาสถิติในชีวิตประจําวันเช่น การนับจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในแหล่งน้ำ หรือการนับจำนวนพืชและแมลงในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ

5. เครื่องชั่งน้ำหนักสุดล้ำ

กิจกรรมนี้เป็นสิ่ง ประดิษฐ์ STEM ง่ายๆที่ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวเพียง 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ไม้แขวนเสื้อ ขวดน้ำ และเชือก นำมาสร้างเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักแบบแขวนได้อย่างง่ายดาย โดยนำขวดน้ำ 2 ขวด มาตัดแบ่งครึ่งเป็นส่วนปากขวดและก้นขวดให้เท่ากันทั้ง 2 ขวด จากนั้นนำครึ่งส่วนก้นขวดที่มีลักษณะเป็นภาชนะปากกว้างมามัดกับปลายไม้แขวนเสื้อด้วยเชือกให้แน่นทั้งสองด้าน และหาที่แขวนไม้แขวนเสื้อ เท่านี้ก็จะได้เครื่องชั่งน้ำหนักสุดเจ๋งที่ประดิษฐ์เองขึ้นมาแล้ว 

ทดลองชั่งสิ่งของด้วยการนำของสองชิ้นไปวางไว้ในก้นขวดที่มัดไว้กับไม้แขวนเสื้อ หากข้างไหนอยู่ต่ำกว่าก็หมายความว่าของข้างนั้นมีน้ำหนักที่หนักกว่าอีกข้างหนึ่ง แต่ถ้าหากนำไปใส่แล้วไม้แขวนเสื้อขนานกับพื้นหมายความว่าของทั้งสองชิ้นมีน้ำหนักเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ในกิจกรรมนี้ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ทางฟิสิกส์ ไปใช้ในชีวิตประจําวัน ในเรื่องพื้นฐานของคานและจุดหมุน อีกทั้งยังได้สร้างสิ่ง ประดิษฐ์ STEM เจ๋ง ๆด้วยตนเองอีกด้วย

 

กิจกรรม STEM กับ Code Genius Academy

Code genius เป็นสถาบันที่สอนการ coding สำหรับเด็ก ที่เน้นการบูรณาการวิชาต่างๆเข้าด้วยกันที่สอดคล้องกับหลักของ STEM Education (สะเต็มศึกษา) เพื่อพัฒนาทักษะความคิดในด้านต่าง ๆ ของเด็ก ๆให้พร้อมรับกับยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเรามีหลักสูตรที่นำ STEM Education มาบูรณาการได้แก่ หลักสูตร Makerspace ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้ให้เด็ก ๆ นำเสนอความคิดของตนเองตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาไปจนถึงการลงมือสร้างนวัตกรรม โดยเด็ก ๆ จะได้ลงมือต่อวงจร สายไฟ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น หลอดไฟ LED, Motor, Buzzer, Servo ด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้คอยดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

บทความที่เกี่ยวข้อง