Coding คืออะไร? ทำไมถึงเป็นทักษะสำหรับเด็กยุคใหม่ที่ทุกคนต้องมี?

Coding คือ การป้อนคำสั่งคอมพิวเตอร์ เพื่อคอมพิวเตอร์สามารถทำตามคำสั่งที่เราต้องการได้ โค้ดดิ้งจึงเป็นทักษะสำคัญสำหรับเด็กยุคใหม่ที่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยี

Category :

what-is-coding-featured-image

โค้ดดิ้ง (Coding) การเขียนโปรแกรม ทักษะสำหรับเด็กยุคใหม่ที่ทุกคนต้องมี

โค้ดดิ้ง (Coding) เป็นทักษะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ ย่อยออกมาจากปัญหาใหญ่ๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละขั้น นอกจากนี้ในแต่ละขั้นตอนของการเขียนโค้ด หรือการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน ที่มีรูปแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย 

เลือกอ่านตามหัวข้อ
ประโยชน์ของการเรียน Coding สำหรับเด็ก การเขียนโปรแกรมมีประโยชน์อย่างไร? Coding หรือ โค้ดดิ้ง เป็นการเรียนรู้ในศาสตร์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากถือเป็นทักษะที่สำคัญต่อพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของผู้เรียน อีกทั้งเมื่อผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการโค้ดดิ้ง หรือที่รู้จักกันว่าทักษะการเขียนโปรแกรมแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาคือทักษะเชิงตรรกะในด้านอื่น ๆ ด้วยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะใดๆที่อาศัยความเป็นเหตุผล ตามกระบวนการของแนวคิดเชิงคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะที่ควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่เด็กให้ได้รู้จักการใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ด้านการแก้ปัญหา นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำทักษะโค้ดดิ้งไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ในการเรียนและการทำงานรวมไปถึงการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้เรียนได้
ภาษาเขียนโค้ด (Coding) สำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง? เนื่องจากการเรียน Coding ช่วยส่งเสริมทักษะส่วนบุคคลที่สำคัญหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในทุกช่วงวัยตั้งแต่ในวัยเด็กไปจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นการเรียน Coding จึงควรที่จะเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ซึ่งในเด็กปฐมวัยนั้นควรเริ่มจากการเรียน Coding ผ่านการทำกิจกรรม Unplugged Coding ที่สอดแทรกการคิดแบบเป็นขั้นตอนผ่านเงื่อนไข การทำซ้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ของหลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์และฝึกทักษะพื้นฐานผ่านกิจกรรมออฟไลน์ เช่น การถอดรหัส การแปลงเลขฐาน การคิดล่วงหน้าแบบเป็นขั้นตอน เป็นต้น
เรียน coding กับ Code Genius Code Genius เป็นสถาบัน Coding academy ที่มีหลักสูตรการเรียน coding เด็กตั้งแต่ช่วงวัย 4 ขวบที่จะสอนและฝึกฝนทักษะ Think Solve Innovate ให้กับน้อง ๆ ตั้งแต่พื้นฐาน โดยหลักสูตร Coding ปฐมวัยในเด็กเล็กนั้น หลักสูตรของเราจะยังไม่มีการสอนที่ให้น้อง ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง เพราะเราใส่ใจในพัฒนาการของน้อง ๆ ที่กล้ามเนื้อมือยังไม่สมบูรณ์จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้น แต่หลักสูตรของ Code Genius จะเน้นการโค้ดดิ้งเชิงกิจกรรมที่ใช้กิจกรรม Coding ปฐมวัยในการสอน เพื่อส่งเสริมพื้นฐานที่จำเป็นต่อการโค้ดดิ้งในระดับสูง เช่น การคิดเชิงตรรกะ การคิดเป็นลำดับขั้นตอน การคิดเป็นระบบ การเปรียบเทียบ รวมไปถึงการแยกซ้าย-ขวา
นอกจากจะมีการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรการโค้ดดิ้งเชิงกิจกรรมสำหรับเด็กเล็กแล้ว Code Genius ยังมีการจัดการเรียนการสอน Coding ในรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้ภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็กที่เข้าใจง่าย เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ปัญหาตามหลักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังคงความสนุกให้น้อง ๆ ได้เพลิดเพลินไปกับการเรียน Coding ซึ่งทาง Code Genius มีหลักสูตรมากมายให้น้องๆได้เลือกเรียนตามความสนใจหรือความถนัด ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการสร้างเกมโค้ดดิ้งโดยใช้ Scratch ที่รองรับทุกช่วงวัย หรือจะเป็นหลักสูตร PyGame ที่ให้น้องๆได้สร้างเกมจากภาษา Python นอกจากนี้เรายังมีการสอน เขียน โปรแกรม เบื้องต้น ทั้งภาษา C และภาษา Python สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอีกด้วย
น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

โค้ดดิ้ง (Coding) คืออะไร?
Coding คืออะไร? Coding คือ การเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปโค้ด (Code) เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและทำในสิ่งที่ผู้เขียนโค้ดต้องการ หรืออธิบายโดยง่ายได้ว่า เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้นไม่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ได้ หลักการ “โค้ดดิ้ง” จึงเป็นการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยภาษาหรือรหัส (Code) ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เช่น ภาษา Python, JavaScript และ C เป็นต้น เพื่อทำหน้าที่สื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจในคำสั่งของเรา

การโค้ดดิ้ง (Coding) หรือการเขียนโปรแกรม ช่วยให้เราสามารถสร้างซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ เทคโนโลยีมากมายที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย แอปบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่างก็อาศัยโค้ดทั้งสิ้น โดยเราเรียกศาตร์นี้ว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรูปแบบ STEM โดยเป็นการบูรณาการศาสตร์ของคณิตศาสตร์ (M: Mathematic) และเทคโนโลยีนวัตกรรม (T: Technology) รวมไปถึงวิศวกรรมศาสตร์ (E: Engineer) ซึ่งเป็นสาขาวิชาหลักในการเรียนรู้ในหลักสูตร STEM ศึกษา

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการโค้ดดิ้ง (Coding) หรือ การเขียนโปรแกรม ส่วนใหญนั้นจะมีการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่ง แต่การปูพื้นฐานทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีระบบ และความคิดสร้างสรรค์ หรือแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ที่เป็นการฝึกโค้ดดิ้งเชิงกิจกรรมนั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า Unplugged Coding โดยจะเป็นการเรียนผ่านเกมหรือกิจกรรมกิจกรรม Coding ปฐมวัยที่เด็ก ๆ สามารถมีส่วนร่วมได้แบบออฟไลน์นั่นเอง

Unplugged Coding การจัดการเรียนการสอน Coding ปฐมวัย
Unplugged Coding เป็นการใช้กิจกรรม การเล่นสนุก บัตรคำ ปริศนา เกม กระดาน ดินสอสี อุปกรณ์ และสิ่งรอบตัวมาประกอบกันเพื่อเป็นสื่อในการแก้ปัญหา ที่จะช่วยแนะนำคอนเซ็ปต์หรือแนวคิดเกี่ยวกับโค้ดดิ้งที่มีความเป็นนามธรรม เพื่อให้เด็ก ๆ เห็นภาพได้มากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจในหลักการพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการคำนวณ อีกทั้งยังฝึกให้เด็ก ๆ ได้คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อยอดการศึกษาต่อในศาสตร์อื่นอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่อไป

เป้าหมายของการให้นักเรียนได้ฝึก Coding คืออะไร?
ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้บรรจุให้ โค้ดดิ้ง (Coding) จัดอยู่ในสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 เทคโนโลยี ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ภายใต้ชื่อวิชาวิทยาการคำนวณ โดยวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น คือ “การเรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

โดยการจัดการเรียนการสอน coding มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาด้วยหลักการเขียนโค้ดตามศาสตร์วิทยาการคอมพิวเตอร์ อีกทั้งเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนรู้เท่าทันและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้สอดรับกับการเรียนรู้สู่การเติบโตในโลกยุคใหม่

การเตรียมความพร้อมในการเขียนโปรแกรมมีความสำคัญอย่างไร สำหรับเด็กยุคใหม่?
การเรียน Coding (โค้ดดิ้ง) นั้นเป็นการฝึกทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกระบวนการคิดเชิงคำนวณที่เป็นการสอนให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบและนำมาสร้างวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการพัฒนารูปเบบความคิดสร้างสรรค์ และ คิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการเติบโตในโลกยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้การเรียนเขียนโค้ดดิ้งยังส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ให้เข้าใจมากขึ้น โดยเมื่อนำการเขียนโปรแกรมมาผนวกบูรณาการร่วมกับคณิตศาสตร์ที่เข้าใจยากจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดสนุกในการเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น และยังส่งเสิรมทักษะทางด้านภาษาที่ดีเพราะเป็นการเรียนแบบลงมือทำอย่างการเขียนโปรแกรมที่ต้องใช้คำสั่งต่างๆเป็นภาษาอังกฤษในการโค้ดดิ้งซึ่งเป็นการช่วยฝึกในเรื่องของทักษะภาษาให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำมาใช้มากขึ้น

ประโยชน์ของการเรียน Coding สำหรับเด็ก
การเขียนโปรแกรมมีประโยชน์อย่างไร? Coding หรือ โค้ดดิ้ง เป็นการเรียนรู้ในศาสตร์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากถือเป็นทักษะที่สำคัญต่อพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของผู้เรียน อีกทั้งเมื่อผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการโค้ดดิ้ง หรือที่รู้จักกันว่าทักษะการเขียนโปรแกรมแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาคือทักษะเชิงตรรกะในด้านอื่น ๆ ด้วยนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะใดๆที่อาศัยความเป็นเหตุผล ตามกระบวนการของแนวคิดเชิงคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะที่ควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่เด็กให้ได้รู้จักการใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ด้านการแก้ปัญหา นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำทักษะโค้ดดิ้งไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ในการเรียนและการทำงานรวมไปถึงการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้เรียนได้

ส่งเสริมทักษะด้านแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
แนวคิดเชิงคำนวณ คือ การสอนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน(อัลกอริทึ่ม) โดยใช้วิธีการย่อยปัญหาจากปัญหาใหญ่แล้วทำการแก้ไขทีละส่วนเป็นขั้นตอนไปเพื่อให้วิธีการนั้นมีประสิทธิภาพที่สุดและแก้การเกิดปัญหาในรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ

กระบวนการคิดเชิงคำนวณเป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของมนุษย์ เพื่อสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้ เป็นศาสตร์ที่เมื่อนำมาบูรณาการเข้ากับวิทยาการคอมพิวเตอร์และใช้การเขียนโปรแกรมในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ จะเป็นการใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ด้านการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ส่งเสริมทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ ที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหาและนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เนื่องจากในชีวิตประจำวันเรามักจะพบเจอปัญหามากมายดังนั้นทักษะนี้จึงมีความจำเป็นต่อทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่

การเรียน Coding เป็นการใช้ทักษะการแก้ปัญหาของตัวบุคคลซึ่งก็คือผู้เรียนมาผนวกเข้ากับการใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ด้านการแก้ปัญหา มาสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิธีใหม่ๆที่ใช้แก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้เรียนจะต้องฝึก Coding ในการป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและประมวลผลเหล่านั้นออกมาตามที่เราต้องการ

ส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovate)
การเรียน Coding โดยการใช้โปรแกรมเขียนโค้ดจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้หลักการใหม่ ๆ และยังส่งผลให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมหรือโจทย์ในแบบฝึกหัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านใหม่ๆที่ฝึกแนวคิดการใช้หลักเหตุผลและตรรกะ อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

ส่งเสริมและช่วยในการแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ (Creativities)
การเรียน Coding เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์ให้กับน้อง ๆ อีกด้วย เนื่องจากการเขียนโค้ดไม่ได้มีเพียงวิธีเดียว ดังนั้นน้อง ๆ จึงต้องคิดหาวิธีแก้ปัญหาหลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เดิมมาประยุกต์หรือจะเป็นการคิดนอกกรอบใช้วิธีใหม่ ๆ จากการศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา

ภาษาเขียนโค้ด (Coding) สำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง?
เนื่องจากการเรียน Coding ช่วยส่งเสริมทักษะส่วนบุคคลที่สำคัญหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญในทุกช่วงวัยตั้งแต่ในวัยเด็กไปจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นการเรียน Coding จึงควรที่จะเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ซึ่งในเด็กปฐมวัยนั้นควรเริ่มจากการเรียน Coding ผ่านการทำกิจกรรม Unplugged Coding ที่สอดแทรกการคิดแบบเป็นขั้นตอนผ่านเงื่อนไข การทำซ้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจในคอนเซ็ปต์ของหลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์และฝึกทักษะพื้นฐานผ่านกิจกรรมออฟไลน์ เช่น การถอดรหัส การแปลงเลขฐาน การคิดล่วงหน้าแบบเป็นขั้นตอน เป็นต้น

หากผู้ปกครองคิดว่าการเขียนโปรแกรม หรือ Coding นั้นเป็นทักษะระดับสูงที่ไม่เหมาะกับเด็กๆที่ยังไม่มีพื้นฐานและความรู้ทางภาษาและคำศัพท์ยาก ๆ ในการป้อนข้อมูลคำสั่ง ในวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกับภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็ก เช่น ภาษา Python, HTML/CSS เป็นต้น

นอกจากการเขียนโค้ดที่ต้องอาศัยภาษาคอมพิวเตอร์แล้ว การเรียนเขียน โปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังสามารถป้อนข้อมูลหรือคำสั่งให้คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ผ่านบล็อกคำสั่ง หรือที่เรียกว่า block programming ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานขั้นเริ่มต้น

การเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกคำสั่งจะคล้ายกับการเล่นตัวต่อโดยบล็อกคำสั่งแต่ละชิ้นจะมีความหมายและข้อมูลคำสั่งที่แตกต่างกัน เพียงแค่ลากและวางบล็อกเท่านั้น ก็สามารถสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำตามความต้องการของเราได้อย่างง่ายดายอีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้การทำงานขั้นพื้นฐานในการเรียนโค้ดดิ้งอีกด้วย และโปรแกรมเขียนโค้ดในรูปแบบ Block-based language ผ่านบล็อกคำสั่งที่นิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ Scratch นั่นเอง

Scratch
Scratch คือ ภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็กในรูปแบบ Block-based language ถูกพัฒนามาเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนรู้ได้ตั้งแต่วัยเด็ก จึงเหมาะสมในการเริ่มพัฒนาทักษะที่สำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำหลักการไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ภาษาในระดับสูงขึ้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้การโค้ดดิ้งในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น สร้างเกมโค้ดดิ้ง ภาพเคลื่อนไหว นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ดนตรี และศิลปะ เมื่อสร้างเป็นชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังสามารถนำชิ้นงานที่สร้างนี้ไปแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแบ่งปันให้ผู้อื่นใช้งานด้วยได้

Python
ภาษาโปรแกรม Python คือภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูง แต่ก็มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย จึงง่ายต่อการนำมาใช้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมในขั้นพื้นฐาน โดยภาษา Python ถูกออกแบบมาให้เป็นภาษาสคริปต์ที่อ่านง่าย ตัดความซับซ้อนของโครงสร้างและไวยกรณ์ของภาษาออกไป

ในส่วนของการแปลงชุดคำสั่งที่เราเขียนให้เป็นภาษาเครื่อง Python มีการทำงานแบบ Interpreter คือเป็นการแปลชุดคำสั่งทีละบรรทัด เพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยประมวลผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ นอกจากนั้นภาษาโปรแกรม Python ยังสามารถนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมได้หลากหลายประเภท จึงทำให้โปรแกรมเขียนโค้ดภาษา Python เป็นที่นิยมนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย

HTML/CSS
CSS เป็นภาษาโค้ดดิ้งที่นักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์หรือสำหรับคนที่ต้องประกอบเว็บไซต์จากรูปภาพที่ถูกออกแบบไว้คงต้องมีความรู้เป็นหลัก เนื่องจากจะต้องใช้จัดสัดส่วน Layout ของเว็บไซต์แล้วยังสามารถใช้กำหนดส่วนต่างๆของเว็บไซต์อีกด้วย โดยในยุคแรก ๆ จะใช้ภาษา HTML ในการโค้ดดิ้งเพื่อจัดทำระบบการแสดงผลทางด้านโครงสร้างและข้อมูลต่างๆภายในเว็บไซต์ ต่อมาจึงพัฒนาและมีตัวช่วยในการเขียนเว็บไซต์ให้ดีขึ้นเป็น CSS หรือ Style Sheets ที่ทำหน้าที่จัดการโครงสร้างการแสดงผลของหน้าตาเว็บไซต์

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม CSS กับ HTML นั้นยังคงทำหน้าที่คนละอย่างกัน โดย HTMLจะทำหน้าที่ในการวางโครงร่างเอกสารอย่างเป็นรูปแบบให้ถูกต้อง เข้าใจง่าย และไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงผล  ส่วน CSS จะทำหน้าที่ในการตกแต่งเอกสารให้สวยงาม หรืออธิบายง่ายๆได้ว่า HTML คือส่วน Coding และ CSS คือส่วน design นั่นเอง

การเรียนรู้ Coding โดยใช้ Micro:bit
Micro:bit คือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาการคำนวณ ดังนั้นจึงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถประยุกต์ในการเป็นสื่อการเรียนการสอนได้หลากหลายรูปแบบ Micro:bit สามารถรองรับการพัฒนาโปรแกรมได้ทางเว็บบราวน์เซอร์ makecode ในรูปแบบ Block Base Programming นอกจากนี้ยังสามารถรองรับการเขียนโค้ดและคอมไพล์ได้หลายภาษาไม่ว่าจะเป็น JavaScript Block Editor, ภาษา Python และ ภาษา C/C++ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ป้อนคำสั่งได้ตามความถนัด

โดยน้อง ๆ จะได้เข้าใจถึงโครงสร้างการทำงานของคำสั่งต่าง ๆ รวมถึงการนำความสามารถของคำสั่งมาประยุกต์ และปรับใช้กับบอร์ด Micro:bit ให้เป็นผลงานที่สามารถใช้ได้จริงผนวกกับการต่อวงจรไฟฟ้าพื้นฐาน การรับค่า และ การอ่านค่าของสัญญาณ น้อง ๆ สามารถนำคำสั่งจากการเขียนโค้ดมาประยุกต์ให้เป็น Project ที่ใช้ได้จริง เช่น เกมส์ เข็มทิศ อุปกรณ์วัดความเข้มแสง และ Pedometer, Fruit Keyboard เป็นต้น

เรียน coding กับ Code Genius
Code Genius เป็นสถาบัน Coding academy ที่มีหลักสูตรการเรียน coding เด็กตั้งแต่ช่วงวัย 4 ขวบที่จะสอนและฝึกฝนทักษะ Think Solve Innovate ให้กับน้อง ๆ ตั้งแต่พื้นฐาน โดยหลักสูตร Coding ปฐมวัยในเด็กเล็กนั้น หลักสูตรของเราจะยังไม่มีการสอนที่ให้น้อง ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง เพราะเราใส่ใจในพัฒนาการของน้อง ๆ ที่กล้ามเนื้อมือยังไม่สมบูรณ์จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้น แต่หลักสูตรของ Code Genius จะเน้นการโค้ดดิ้งเชิงกิจกรรมที่ใช้กิจกรรม Coding ปฐมวัยในการสอน เพื่อส่งเสริมพื้นฐานที่จำเป็นต่อการโค้ดดิ้งในระดับสูง เช่น การคิดเชิงตรรกะ การคิดเป็นลำดับขั้นตอน การคิดเป็นระบบ การเปรียบเทียบ รวมไปถึงการแยกซ้าย-ขวา

นอกจากจะมีการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรการโค้ดดิ้งเชิงกิจกรรมสำหรับเด็กเล็กแล้ว Code Genius ยังมีการจัดการเรียนการสอน Coding ในรูปแบบอื่น ๆ โดยใช้ภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็กที่เข้าใจง่าย เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ปัญหาตามหลักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังคงความสนุกให้น้อง ๆ ได้เพลิดเพลินไปกับการเรียน Coding ซึ่งทาง Code Genius มีหลักสูตรมากมายให้น้องๆได้เลือกเรียนตามความสนใจหรือความถนัด ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการสร้างเกมโค้ดดิ้งโดยใช้ Scratch ที่รองรับทุกช่วงวัย หรือจะเป็นหลักสูตร PyGame ที่ให้น้องๆได้สร้างเกมจากภาษา Python นอกจากนี้เรายังมีการสอน เขียน โปรแกรม เบื้องต้น ทั้งภาษา C และภาษา Python สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจอีกด้วย

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

บทความที่เกี่ยวข้อง