รู้จักทักษะการแก้ปัญหา problem solving ปั้นเด็กให้ก้าวทันโลกอนาคต

ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะที่ใช้ในการคิดแก้ปัญหาควบคู่กับแนวคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นทักษะส่วนบุคคลที่สำคัญในโลกยุคใหม่

Category :

ทักษะการแก้ปัญหา Problem solving

ทักษะการแก้ปัญหา Problem solving

ทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving) เป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ออย่างเป็นระบบขั้นตอน และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทักษะนี้มีความจำเป็นต่อทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ 

สามารถเรียก ทักษะการแก้ปัญหา ว่าเป็น ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญเลยก็ว่าได้เพราะทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving) นั้นมักจะต้องใช้ควบคู่ไปกับทักษะต่างๆอย่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) คือ กระบวนการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลอย่างมีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) คือ การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง และการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คือ การคิดที่หลากหลาย ริเริ่ม ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความคิด

การใช้ทักษะการแก้ปัญหาผนวกกับทักษะอื่นๆเหล่านี้จะส่งผลให้เรานำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ กลั่นกรองและย่อยข้อมูลที่มีอยู่มากมายในโลกดิจิทัลเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตประจําวัน จนถึงการนำไปพัฒนา ต่อยอด สร้างสรรค์เกิดเป็นนวัตกรรมสิ่งใหม่เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้อย่างไม่มีสิ้นสุด

ทักษะการแก้ปัญหา หรือ problem solving คืออะไร? สำคัญยังไงกับพัฒนาการของเด็ก?

ทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving skill) คือ ทักษะที่ใช้ในการคิดแก้ปัญหา (ProBlem Solving Thinking) หมายถึง การคิดของบุคคลในการระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและครอบคุลมทุกมิติ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเดิมซ้ำๆ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving skill) นั้นสำคัญต่อทุกช่วงวัยในโลกยุคใหม่นี้เพราะ แต่ก่อนปัญหาหลาย ๆ อย่างรอบตัวเราอยู่ในลักษะของการที่มีรูปแบบ (Pattern) หรือมีตัวแปรต่าง ๆ ที่เรารู้จักและควบคุมได้ (Controlled Factors) แต่ในโลกปัจจุบันที่มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ขนาดตัวแปรอย่างพฤติกรรมคนเองก็ซับซ้อนกว่าเดิม

กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา ProBlem solving

สาเหตุที่เด็ก ๆ หลายคนขาดทักษะในการแก้ปัญหา เนื่องจากไม่เคยได้เผชิญกับปัญหาหรือฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเองมาก่อน จากการที่ผู้ปกครองหลายคนดึงเด็กออกจากปัญหาที่เขาต้องเผชิญ โดยมักจะเข้าไปคิดและจัดการแก้ไขให้ เพราะต้องการช่วยเหลือหรือไม่อยากให้เกิดความยากลำบาก ซึ่งนั้นคือการไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และลองแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยตนเอง

ดังนั้นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving skill) ผู้ปกครองควรเริ่มจากการฝึกกระตุ้นพัฒนาการและทักษะสำคัญตามวัยอย่างเหมาะสม ร่วมกับสอนให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการหาแนวทางแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ฝึกแก้ปัญหาจาก ปัญหาที่พบในชีวิตประจําวัน

วิธีฝึกทักษะแก้ปัญหาให้เด็ก ๆ ที่ดีที่สุด คือ การให้เด็ก ๆ ช่วยตัวเองจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จะทำให้เด็ก ๆ ได้ใช้ทักษะนี้กับเรื่องใกล้ตัว เช่น การปล่อยให้ลูกเรียนรู้ลองผิดลองถูกกับการจัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนและเสื้อผ้าไปโรงเรียนเอง หากเกิดปัญหาอย่างการหาอุปกรณ์หรือเสื้อผ้าเครื่องแบบไม่เจอ ผู้ปกครองอาจช่วยแนะนำให้เด็กได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเหล่านั้น เช่น ถ้าหาอุปกรณ์หรือเครื่องแต่งกายไม่เจอในตอนเช้าก็ควรที่จะเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนเย็นของเมื่อวาน เป็นการฝึกการว่างแผนและการคิดล่วงหน้า ที่จะทำให้ไม่เกิดปัญหาอีกในครั้งต่อๆไป

ฝึกช่วยเหลือตัวเอง

การฝึกช่วยเหลือตนเอง เป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหา (ProBlem solving skill)ด้วยการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ควรให้เค้าได้ลงมือทำเอง อย่าใจร้อนเข้าไปแทรกแซงหรือทำแทนหากเขาทำไม่ได้หรือไม่ถูกต้อง และชื่นชมเมื่อเขาทำสำเร็จ หากเขาต้องการความช่วยเหลือ อาจตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ ลองคิดวิเคราะห์หาวิธีแก้ก่อน อย่าเพิ่งรีบเสนอวิธีแก้ไขโดยตรง 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีนี้กับการให้เด็ก ๆ มาช่วยงานบ้าน เช่น การให้เขาล้างจานของตนเองเมื่อทานเสร็จ โดยผู้ปกครองสามารถชี้แนะให้เด็ก ๆ ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานทั้งหมดให้เสร็จก่อน แล้วจึงล้างน้ำสะอาด จะเป็นการสอนให้เขาได้รู้จักการเปรียบเทียบระหว่างวิธีนี้กับการล้างทีละชิ้น ว่าวิธีใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน ซึ่งเป็นหนึ่งการฝึกทักษะการคิดวิธีการแก้ปัญหาเช่นกัน

การเล่นและการเล่านิทาน

การเล่นและการเล่านิทาน เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการตามวัย อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาความคิด สติปัญญาและจินตนาการจากกิจกรรมที่ทำ ตามหลัก Play-Based learning หรือการเรียนผ่านการเล่นที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้รูปแบบนี้เด็ก ๆ จะมีความเข้าใจในโลกของพวกเขาผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น การสังเกต สิ่งต่างๆรอบตัว และการนำเสนอผลงานของตน ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อนำมาใช้เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา

เล่นต่อบล็อค

การเล่นต่อบลอคเด็กปฐมวัยนั้นจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการและฝึกให้เด็ก ๆ ได้ใช้ทักษะทางสมองและสติปัญญามากขึ้น โดยเด็ก ๆ จะเรียนรู้กระบวนการ และหาวิธีใหม่ๆในการต่อ สร้าง หรือประกอบสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันผ่านการเล่นต่อบล็อคที่เปรียบเสมือนการฝึกให้เด็กได้ทำงานหนึ่งชื้น โดยจะต้องมีการวางแผนว่าอยากที่จะสร้างสรรค์ในรูปแบบไหน จากนั้นจะต้องฝึกสังเกตุและแยกแยะชิ้นส่วนแต่ละส่วน ต่อมาอาจเกิดปัญหา เช่น บล็อคไม่เกิดความสมดุลทำให้พังลงมา เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้และใช้ทักษะการแก้ปัญหาในการลองผิดลองถูก จนกว่าจะต่อบล็อคได้สำเร็จด้วยตนเอง

เล่นเกมหาคำศัพท์หรือตัวเลข

เกมหาคำศัพท์หรือตัวเลขเป็นเกมที่ฝึกพัฒนาการของเด็กหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความจำ การสังเกต การแก้ปัญหา และไหวพริบ อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ตามหลัก Gamification คือ การเรียนรู้ที่เน้นความสนุกสนานโดยใช้องค์ประกอบต่างๆของเกมมาประยุกต์ ผสานเข้ากับแนวคิดเชิงคำนวณที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เพราะการหาคำศัพท์หรือตัวเลขที่อยู่กระจัดกระจายเต็มหน้ากระดาษต้องใช้สมาธิเป็นอย่างมากและต้องใช้ทักษะการสังเกต วิเคราะห์ ในเกมที่มีตาราง ตัวเลข สัญลักษณ์ ทิศ ในการถอดรหัส ไขปริศนา อีกทั้งเป็นการฝึกการคิดเชิงตรรกะให้เด็ก ๆ เพื่อนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตประจําวันได้อย่างดีอีกด้วย

ฝึกเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก

การเขียนโปรแกรมหรือการ Coding ช่วยให้เด็ก ๆ ได้แสดงพรสรรค์ด้านความคิด โดยเด็ก ๆ จะได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและใช้เทคนิคต่าง ๆ ตามหลักการคิดเชิงคำนวณที่จะเรียนรู้ในการย่อยปัญหาใหญ่ ๆให้เป็นปัญหาเล็ก ๆ จากนั้นจึงแยกปัญหาออกมาทีละส่วนจากนั้นจึงแก้ปัญหาที่ละขั้นตอนอย่างมีลำดับ เมื่อเด็ก ๆ ฝึกทำกระบวนการเหล่านั้นจนเคยชินแล้วจะเกิดการจดจำรูปแบบสร้างวิธีการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ

การเขียนโปรแกรมในเด็กนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์สารสนเทศก็สามารถเรียนรู้ได้ ในหลากหลายรูปแบบ ในเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านร่างกายไม่เหมาะสมกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ก็มีการเรียน Coding แบบออฟไลน์ที่เรียกว่า Unplugged Coding โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่กระดาษกับดินสอก็สามารถเรียนรู้พื้นฐาน Coding ได้แล้ว 

Coding ไม่ได้หมายถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนคำสั่งเองตั้งแต่ต้นทั้งหมดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการป้อนคำสั่งในรูปแบบที่เรียกว่า Block programing เป็นการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับการต่อจิ๊กซอว์ มุ่งเน้นการพัฒนาตรรกะและทักษะในการแก้ไขปัญหา แตกต่างกับการป้อนคำสั่งแบบอื่นโดยเป็นการเลือกใช้คำสั่งจากบล็อค 

การเขียนโปรแกรมแบบ Block programing ทำให้ผู้เรียนไม่ต้องกังวลกับโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมที่ใช้ในการป้อนคำสั่งรูปแบบ Block programing ที่หลายๆคนรู้จักและเป็นที่นิยม คือ Scratch ที่สามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ เมื่อสร้างเป็นชิ้นงานแล้ว ยังสามารถนำชิ้นงานที่สร้างนี้ นำไปแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้

ฝึกทักษะการแก้ปัญหา ProBlem solving กับ Code Genius

 

Code Genius เป็น Codingacademy ที่เหมาะกับน้อง ๆ ทุกช่วงวัยเพราะเรามี Coding สำหรับเด็กทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เชิงกิจกรรมในรูปแบบ Unplugged Coding ที่เป็นการเรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมเหมาะกับเด็กเล็ก โดยการเรียน Coding นั้นเป็นการฝึกให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ปัญหาโดยตรงตามหลักแนวคิดเชิงคำนวณน้อง ๆ จะได้ฝึกการใช้ความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล จึงเหมาะที่จะฝึกทักษะเหล่านั้นตั้งแต่ยังเล็กเพราะเป็นทักษะที่สำคัญในโลกยุคดิจิทัลนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง