21st Century Skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทักษะชีวิตและอาชีพที่เป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตในยุคใหม่ เสริมสร้างได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ยังเล็กผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning

Category :

21ST CENTURY SKILLS

21st Century Skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบการศึกษาผลิตบุคลากรได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของระบบได้ทันท่วงที ส่งผลให้แรงงานกำลังจะถูกทดแทนด้วย AI และในการวิเคราะห์และพิจารณาในการจ้างงานมนุษย์ย่อมต้องการคนที่มีทักษะใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรได้

ผลวิจัยจาก World Economic Forum ได้ระบุว่า ระบบการศึกษาต้องสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะสำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 และสามารถรับคลื่นการเปลี่ยนแปลงจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยทักษะสำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานเหล่านั้นถูกเรียกว่า 21st century skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง ?

น้อง ๆ ที่เติบโตในโลกในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นที่จะต้องมีทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ให้ชำนาญและจะต้องก้าวทันและรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เนื่องจากในการทำงานและการเติบโตจะต้องพบกับภาวะ Double Disruption ทั้งจากโรคระบาด มลพิษต่าง ๆ และจากการใช้ระบบ Automation ที่เข้ามาแทนการจ้างงานมนุษย์ในปัจจุบัน

โดยการที่น้อง ๆ จะสามารถเติบโตในโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างรู้เท่าทันนั้นจะต้องมีทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานต่าง ๆ ให้ดีโดยทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญหลัก ๆ เลยก็คือ ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะการรู้เท่าทันสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยทักษะที่กล่าวมานั้น มีรายละเอียดดังนี้

1. ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ปัจจุบันโลกในศตวรรษที่ 21 ที่กระแสโลกมีการเปลี่ยนแปลง(Digital Disruption, Digital Transformation) ส่งผลให้ทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งองค์กรต่าง ๆ จะเน้นพิจารณาบุคคลที่มีทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นอันดับแรกในการรับสมัครพนักงาน และยังรวมไปถึงสถานศึกษาด้วยเช่นกัน 

เนื่องจากบุคคลที่มีทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 มักจะดำเนินงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพอีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ทันทีเนื่องจากมีความรู้และเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี

2. ทักษะการรู้เท่าทันสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี

ทักษะการรู้เท่าทันสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสื่อสารสนเทศ รวมไปถึงความสามารถในการเข้าถึงสื่อเพื่อนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นในหลาย ๆ รูปแบบฉบับของตนเอง โดยทักษะนี้เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นจะต้องใช้ทักษะ Critical Thinking Skill ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ แยกแยะสาระเนื้อหา ตีความ และประเมินข้อมูลด้วยนั่นเอง

โดยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างทักษะการรู้เท่าทันสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีนั้นมีองค์ประกอบด้วยกันทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่ 1.ทักษะในการเข้าถึง (Access Skill), ทักษะการวิเคราะห์ (Analyze skill), ทักษะการประเมินเนื้อหา (Evaluate skill), ทักษะการสร้างสรรค์ (Create skill) และองค์ประกอบเพิ่มเติม คือ ทักษะการมีส่วนร่วม (Participal skill)

3. ทักษะชีวิตและอาชีพ

ในปี 2560 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ (Nation Strategy) สู่แผนการศึกษาแห่งชาติที่มีเป้าหมายต่อผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนด คือ จะต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หรือทักษะแห่งอนาคต 3 กลุ่ม ได้แก่ Soft skill, Hard skill, Growth Mindset 

1.Soft skill ทักษะในศตวรรษที่ 21 ประเภททักษะด้านสังคมเป็นส่วนใหญ่ คือเป็นทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และทักษะชีวิตและอาชีพก็มีส่วนที่ต้องใช้ Design thinking ในการบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาช่องทางใหม่ ๆ ในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยทักษะในศตวรรษที่ 21 ประเภท Soft skill เช่น Creativity skill, Social Intelligence, Communication Skill เป็นต้น

2.Hard skill เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เชิงเทคนิคความรู้ซึ่งเป็นทักษะด้านอาชีพหรือความชำนาญในการทำงานในด้านนั้น ๆ จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ในยุคดิจิทัลสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา โดยทักษะที่เป็น Hard skill ที่เป็นที่ต้องการในโลกในศตวรรษที่ 21 เช่น Product Management, Data Analysis, Lean Management เป็นต้น

3.Growth Mindset เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของทักษะ Meta skill เป็นการมีความคิดที่ดีในการขวนขวายหาความรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 มาพัฒนาตนเองเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเป็นการสร้างทัศนคติที่พร้อมจะเติบโต สนุกกับการพบเจอสิ่งใหม่ ๆ และปัญหาที่ท้าทาย Meta skill มีทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น Lifelong Learning Aspiration, Self-Direction, Comfort with Change เป็นต้น

คุณสมบัติ 5 ประการ ทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมประกอบด้วย

1.การตระหนักรู้ในตัวเอง (Self Awareness) เป็นความสามารถของน้อง ๆ ในการรับรู้และเข้าใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่น้อง ๆ ให้คุณค่า รวมถึงเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อน้อง ๆ หรือพฤติกรรมของน้อง ๆ อย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถประเมินจุดเด่นหรือจุดบกพร่องของตนเองเพื่อนำไปพัฒนาตนเองต่อไปได้

2.การรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ (Self Management) เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการควบคุมอารมณ์ความคิด และพฤติกรรมของตนเองที่มี ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงสามารถจัดการความเครียด ควบคุมและจูงใจตนเอง ตลอดจนสามารถตั้งเป้าหมาย และลงมือปฏิบัติหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้นั่นเอง

3.ความเข้าใจหรือตระหนักรู้ด้านสังคม (Social Awareness) คือ การที่น้อง ๆ สามารถทำความเข้าใจและเอาใจใส่ผู้อื่นที่มีพื้นฐานแตกต่างไปจากตนเองได้ รวมไปถึงสามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้อื่นที่เป็นผลมาจากสังคม ค่านิยม และจริยธรรมที่แตกต่าง

4.ทักษะด้านความสัมพันธ์ (Relationship Skills) เป็นความสามารถในการเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยให้น้อง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ สื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่นและบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

5.การรับผิดชอบในสิ่งที่ตัดสินใจได้ (Responsible Decision Making) คือ กระบวนการที่น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจอารมณ์ของตนเอง และสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองไม่ให้ไปกระทบกับผู้อื่น ส่งผลให้การทำกิจกรรมและการใช้ความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้สัมฤทธิ์ผล รวมถึงการตัดสินใจลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรับผิดชอบและรับรู้ถึงผลกระทบที่ตามมาและพร้อมรับผิดชอบต่อผลกระทบนั้นด้วยตนเอง

ทักษะอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน 

นอกจากทักษะต่าง ๆ ข้างต้นแล้วนั้นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือความรู้แห่งการเป็นมืออาชีพที่ควรสร้างเสริมให้กับน้อง ๆ ตั้งแต่เล็กที่คุ้นเคยในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าทักษะ 3Rs8Cs ได้แก่

1R : Reading

2R : (W)Riting 

3R : (A)Rithmetic

1C : Critical Thinking and Problem Solving

2C : Creativity and Innovation

3C : Cross-Cultural Understanding

4C : Collaboration, Teamwork and Leadership

5C : Communication

6C : Computing and ICT Literacy

7C : Career and Learning Skill

8C : Compassion

วิทยาการคำนวณ หลักสูตรที่จะมาเติมเต็มทักษะในศตวรรษที่ 21

“วิชาวิทยาการคำนวณ” ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 และเริ่มบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 เป็นครั้งแรก เป็นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการคิดเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้หลักสูตรวิทยาการคำนวณ ยังสอนให้น้อง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหา ประเมิน จัดการ พร้อมทั้งนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งหมดนี้คือทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ขั้นพื้นฐานในการนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับอีกหลากหลายวิชา และถือได้ว่าเป็นทักษะสำคัญสำหรับเด็กไทยที่ก้าวเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุค Digital Age ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุก ๆ ขณะ

Active Learning กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้แบบ Active Learning คือ รูปแบบการเรียนรู้ยุคใหม่แห่งโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ มีกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผู้สอนจะเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้คิดวิเคราะห์บูรณาการข้อมูลข่าวสารหรือสื่อสารสนเทศและหลักการคิดรวบยอดด้วยตนเอง จะเน้นการเรียนรู้ที่ให้น้อง ๆ ได้รู้จักการอ่าน พูด ฟัง และคิดอย่างลึกซึ้ง กิจกรรม Active Learning เป็นกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้น้อง ๆ เกิดความสนใจในการศึกษาการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ จากประสบการณ์ของตัวน้อง ๆ เอง อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป 

ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ทักษะหลัก ๆ คือ ทักษะการเรียนรู้ เนื่องจากในโลกยุคใหม่นั้นองค์ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงบ่อยขึ้นในทุก ๆ ขณะ น้อง ๆ จำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือ Life Long Learning 

ทักษะต่อมาคือ ทักษะความเข้าใจ การใช้ รวมไปถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) และสุดท้าย คือ ทักษะชีวิต เป็นทักษะที่ทำให้น้อง ๆ มีความเข้าใจในตนเองและรู้จักปรับตัวให้เข้าเข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีทักษะอื่น ๆ เช่น Social Emotional Leaning : SEL เป็นทักษะสำหรับมนุษย์ที่จำเป็นขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ เนื่องจากอย่างที่ทราบกันว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ทักษะการเข้าใจและจัดการตนเองที่จะส่งผลให้เกิดทักษะการเข้าใจผู้อื่นและบริหารความสัมพันธ์ก็เป็นทักษะที่มีความสำคัญและไม่สามารถละเลยได้ไม่ว่าจะยุคสมัยใด นอกจากนี้ทักษะการตัดสินใจบทพื้นฐานของความรับผิดชอบก็เป็นทักษะที่สำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง