Critical Thinking Skill ทักษะสำหรับคนยุคใหม่ ในโลกที่มีการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด

Critical Thinking Skill ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สิ่งที่คนยุคใหม่ควรมี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโลกยุคใหม่

Category :

critical-thinking-skill-featured-image

Critical Thinking Skill ทักษะการคิดวิเคราะห์ สิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของคนยุคใหม่

เลือกอ่านตามหัวข้อ
น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

Critical Thinking คืออะไร

Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ หมาย ถึง ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุมีผลโดยอาศัยหลักฐาน หรือข้อสนับสนุน โดยไม่ใช้อารมณ์ ความเชื่อดั้งเดิม ประสบการณ์ และอคติในการคิดและการตัดสินใจนั้น หรือที่เราเรียกว่าการคิดแบบมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นความเข้าใจในเหตุและผลที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความคิดในเรื่องต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้คำตอบ หรือสิ่งที่เราตัดสินใจ มีโอกาสที่จะถูกต้องมากขึ้นหรือดียิ่งขึ้นนั่นเอง

Critical Thinking skill ในสังคมไทยนั้นอาจจะพยายามทำความเข้าใจแล้ว แต่กลับไม่มีแหล่งข้อมูลที่สามารถนิยามทักษะนี้ได้อย่างตรงไปตรงมา เนื่องจาก Critical Thinking เป็นทักษะแห่งการคิด ซึ่งไม่สามารถวัดกันได้ที่การกระทำหรือสิ่งที่แสดงออกมาโดยตรง โดยการที่จะบอกว่าคุณมีหรือไม่มี Critical Thinking skills คือตอนที่คุณพยายามที่จะ “คิดหาหลักฐานหรือเหตุผลมาประกอบการตัดสินใจ” ว่าข้อมูลที่ได้รับมาเหล่านั้นเป็นความจริงหรือเปล่า มีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือมากแค่ไหน

ทำไม Critical Thinking Skill จึงควรเป็นทักษะของคนยุคใหม่

Critical Thinking คือ ทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่นี้ เนื่องจากในปัจจุบันได้มีข้อมูลต่างๆที่ต้องอาศัยทักษะ การ คิด อย่าง มี วิจารณญาณ เพื่อทำการกลั่นกรองวิเคราะห์ข่าวสารต่างๆจำนวนมากที่ได้รับรู้ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับข่าวปลอม (Fake news), การคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving), การตัดสินใจ (Decision Making) ไปจนถึงการนำไปประยุกต์กับ Process อีกหลาย ๆ ด้านในการทำงาน รวมไปถึงนำมาประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

องค์ประกอบของ Critical Thinking มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของ Critical Thinking Skills นั้นสามารถแบ่งเป็นทักษะย่อยได้ 3 ลักษณะ ซึ่งเราสามารถนำทักษะย่อยเหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น และการตัดสินใจของเราก็จะมีโอกาสถูกต้องมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการที่เราไม่ได้ใช้ทักษะเหล่านี้อย่างแน่นอน โดยทักษะย่อยของ Critical Thinking skills ที่จะช่วยพัฒนาการคิดแบบมีวิจารณญาณมีดังนี้

ทักษะย่อยที่ 1: การทำความเข้าใจ (Understanding)

การทำความเข้าใจเป็นทักษะย่อยของ Critical Thinking skill ที่มีความสำคัญ และเป็นทักษะเริ่มต้นที่ทำให้ได้ข้อมูลมาเพื่อนำไปวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยวิธีการที่เราใช้ในการหาและทำความเข้าใจนั้นก็คือ การตั้งคำถาม ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตในสิ่งที่มนุษย์คิดว่าตนเองรู้จักดีอยู่แล้ว ให้เกิดข้อมูลและคำตอบที่ทำให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ หลาย ๆ สิ่ง ส่วนวิธีในการตั้งคำถามให้เกิดทักษะ การ คิด วิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นค่อนข้างมีความซับซ้อน ซึ่งเราจะมาอธิบายในหัวข้อต่อๆไป

ทักษะย่อยที่ 2: การวิเคราะห์ (Analysis)

เมื่อเราได้รู้จักการตั้งคำถามเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆแล้ว อีกส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking อย่างการวิเคราะห์ หรือ analytical thinking คือ ความสามารถในการตรวจสอบบางสิ่งบางอย่างหรือการหาความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านั้นอย่างเช่น การคิดว่าถ้าสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นอย่างไร หรือถ้าสิ่งหนึ่งขาดหายไปสิ่งไหนจะโดนผลกระทบบ้าง ซึ่งการเชื่อมโยงที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “การให้เหตุผล” ส่งผลให้เราเข้าใจความหมายของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอธิบายให้คนอื่นๆฟังได้อย่างเหมาะสม

ทักษะย่อยที่ 3: การอนุมาน (Inference)

ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับการอนุมานกันก่อน โดยเราสามารถให้นิยามคร่าวๆได้ว่า การอนุมาน คือกระบวนการหาข้อสรุปจากการแสดงเหตุผลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะใช้หลักตรรกศาสตร์ในการเชื่อมโยงและหาเหตุผล สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบหลัก ๆ 3 รูปแบบ

  1. การอนุมานแบบนิรนัย (deductive inference) เป็นการสรุปผลจากข้อมูลที่เป็นจริง โดยใช้เหตุผลและหลักการทางตรรกศาสตร์ หรือเป็นการสรุปผลว่าเป็นจริงโดยอาศัยประพจน์หรือการประเมินที่เป็นจริง
  2. การอนุมานแบบอุปนัย (inductive inference) เป็นการสรุปผลทั่วไปจากข้อมูลที่สังเกตได้
  3. การอนุมานเชิงสถิติ (statistical inference) เป็นการสรุปผลทั่วไป จากข้อมูลตัวอย่างทางสถิติ โดยมีระดับความไม่แน่นอนในระดับหนึ่ง

จากข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวมาก็อาจจะทำให้การอนุมานเป็นหลักการ Critical Thinking ที่เข้าใจยาก แต่จริงๆแล้วเราทุกคนล้วนเคยใช้การอนุมานกันมาแล้วทั้งนั้น จึงอยากจะขอยกตัวอย่างสถานการณ์ง่ายๆที่เรามักจะใช้กันในชีวิตประจำวันกันแบบไม่รู้ตัว

ยกตัวอย่างเช่น ได้รับข้อมูลมาว่า มีสัตว์อยู่ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์บก มีสี่ขา มีขน หูตั้งแหลม มีเสียงร้องเหมียวๆ และเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม เกือบทุกคนก็คงจะคิดออกทันทีว่า สัตว์ชนิดนั้นคือแมว ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ของสมองว่า การอนุมาน นั่นเอง

ถ้าหากจะสรุปให้ง่ายที่สุดก็คงต้องพูดว่า การอนุมาน ก็คือ การประเมินให้เกิดผลลัพธ์จากองค์ประกอบที่มีความหมาย หรือผลจากการวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจซึ่งไม่นับรวมถึงกระบวนการตัดสินใจนั่นเอง

คนที่มี Critical Thinking สามารถทำอะไรได้บ้าง

Critical Thinking skills เป็นทักษะที่มีผลในการช่วยพัฒนาการคิดและวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูลเป็นอย่างมาก ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ ไปจนถึงช่วยในการหาเหตุผลต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหา ดังนั้นผู้ที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking Skill นั้นมักจะมีความสามารถที่นำหน้าผู้อื่นอยู่เสมอ

คนคิดแบบ Critical Thinking สามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่แน่นอนได้ดีขึ้น

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆรวดเร็วมาก ส่งผลให้มีข้อมูลข่าวสารให้เราได้เสพมากมาย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นความจริงหรือไม่ เราจึงต้องการทักษะการคิดที่จะมารับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจไม่ให้ผิดพลาด ดังนั้นหากเรามี Critical Thinking  เราก็จะมีความสามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ด้วยความรอบคอบมากขึ้น

Critical Thinking ทำให้ได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ กล้าออกจาก Comfort Zone เดิม ๆ

เนื่องจาก Critical Thinking เป็นการฝึกให้เราได้ตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลเชื่อมโยงกับข้อมูลต่างๆ ส่งผลให้เมื่อเราใช้ความคิดเชิงวิพากย์ไปเรื่อย ๆ เราก็จะได้มุมมองแนวคิดข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเราอาจจะเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ เพราะการคิดแบบ Critical Thinking อาจจะทำให้เราได้พบวิธีการอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่า

คนคิดแบบ Critical Thinking สามารถไตร่ตรองแยกแยะข้อเท็จจริงได้ดีขึ้น

คนที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking สามารถเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมา อาจจะมีข้อคิดเห็นของผู้ส่งต่อข้อมูลแฝงปนอยู่กับข้อเท็จจริงได้เสมอ นอกจากตระหนังรู้แล้วยังสามารถแยกแยะกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่มีเหตุผลหรือไม่เป็นความจริง ออกจากข้อมูลที่เป็นความจริงได้อย่างไม่ผิดพลาด

ทั้งนี้ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ของแต่ละบุคคล รวมไปถึงความสม่ำเสมอในการฝึกฝนทักษะนี้อีกด้วย

ประโยชน์ของการมี Critical Thinking Skill

บุคคลที่นำหลักการ Critical Thinking ไปฝึกฝนและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เป็นประจำนั้น มักจะเกิดประโยชน์มากกว่าผู้อื่น ดังนี้

  • มีความมมั่นใจในการเผชิญหน้ากับปัญหาและความท้าทาย ทำให้ได้พบเจอกับโอกาสต่างๆที่มากกว่าผู้อื่น นอกจากนั้นยังรู้จักตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  • มีการพัฒนาวิธีคิดอยู่ตลอด ทำให้พบเจอมุมมองใหม่ๆในการแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความรอบคอบ สามารถปฏิบัติงานอยู่บนหลักการของเหตุและผล

ตั้งคำถามแบบ Critical Thinking

จากข้างต้นที่เราได้พูดกันไปเกี่ยวกับการตั้งคำถามแบบ Critical Thinking ซึ่งทำให้เกิดผลดีมากมาย เนื่องจากทำให้เราได้รู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น และ Critical Thinking Skills เป็นทักษะการคิดซึ่งวัดผลได้ยากแต่ถ้าหากอยากฝึกฝนการตั้งคำถามนั้นก็ถือเป็นการฝึกฝนที่ได้ผลที่สุด โดยเราจะขอมาแนะนำแนวทางการตั้งคำถามเพื่อให้เกิดการคิดแบบมีวิจารณญาณที่ถูกต้องให้ทุกคนได้ฝึกฝนอย่างถูกวิธี ก่อนที่จะเชื่อข้อมูลต่างๆไปด้วยกัน

(Who) ใครเป็นคนพูด หรือส่งต่อข้อมูลนั้นมา?

โดยเราควรคิดว่าคนคนนั้นเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่ มีความเหมาะสมที่เราสามารถเชื่อถือในคำพูดหรือข้อมูลที่ส่งต่อมาได้มากน้อยแค่ไหน

(What) พูดเรื่องอะไร หรือข้อมูลนั้นเกี่ยวกับเรื่องใด?

เราควรประเมินว่าสิ่งที่เราได้รับมานั้นมีข้อเท็จจริงอยู่เท่าไร มีความคิดเห็นของผู้ส่งข้อมูลปะปนมาแค่ไหน มีใจความสมบูรณ์หรือไม่

(Where) พูดหรือได้รับข้อมูลมาจากที่ไหน?

ข้อมูลที่เราได้รับมานั้น เราได้รับมาจากในที่ประชุมที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเป็นการพูดส่งต่อกันแบบส่วนตัว ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ว่าในข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือจริงหรือไม่

(When)ได้รับข้อมูลมาเมื่อไหร่?

ข้อมูลที่เราได้รับการส่งต่อมานั้น เกิดขึ้นก่อนหรือหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และเราได้รับข้อมูลมาในขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วนานแค่ไหน

(Why) พูดหรือส่งข้อมูลมาเพื่ออะไร?

ซึ่งเราควรต้องวิเคราะห์ว่า ผู้พูดหรือผู้ส่งสารพยามพูดเพื่อให้ตนเองดูดีหรือเพื่อให้คนอื่นดูแย่หรือไม่ ได้บอกเหตุผลในสิ่งที่พูด หรือเป็นการพูดที่เสนอข้อคิดเห็นหรือไม่

(How) พูดหรือส่งข้อมูลมาถึงเราอย่างไร?

เราต้องวิเคราะห์ว่า ผู้พูดในขณะที่กำลังให้ข้อมูลกับเรานั้นมีอารมณ์อย่างไร อยู่ในภวังค์ของความโกรธ สุข เศร้า ในขณะที่พูดหรือไม่เพราะอารมณ์ต่างๆก็สามารถส่งผลให้เกิดความผิดเพี้ยนของข้อมูลข่าวสารได้ หรือวิเคราะห์ที่ผู้พูดนั้นได้เข้าใจในสิ่งที่พูดจริงๆหรือไม่

ในหัวข้อการตั้งคำถามนี้จะสังเกตุได้ว่า การตั้งคำถามชวนให้คิดตามหลัก Critical Thinking ที่ถูกต้องนั้นจำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามปลายเปิด (wh-, H- question) เท่านั้นเพื่อเปิดให้ได้หาเหตุผลต่างๆมารองรับได้อย่างหลากหลาย

Critical Thinking ที่สำคัญมีอะไรบ้าง

การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking โดยเราสามารถให้นิยามได้ว่า analytical thinking คือ  การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นให้ถูกต้อง

การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง(ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง(ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน กล่าวคือ มนุษย์มีการสื่อสารซึ่งกันและกันก็เพื่อเข้าใจให้ตรงกันนั้นเอง หากเรามีทักษะ Critical Thinking แต่ขาดทักษะการสื่อสาร หรือ Communication skill ไปนั้นจะทำให้ไม่สามารถอธิบายหรือส่งต่อข้อมูลที่เราได้เข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนทักษะนี้ก็จำเป็นเช่นกัน

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เพราะการใช้ Critical Thinking skill คือ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้แก้ไขปัญหา รวมไปถึงการมองปัญหาในมุมที่ต่างจากเดิม เพื่อนำไปหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีควบคู่ไปกับหลักการ Critical Thinking

การแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นทักษะที่ต่อเนื่องกับการวิเคราะห์ปัญหาเมื่อเราเห็นทางออกของปัญหาจากการใช้หลักการ Critical Thinking ด้วยการอนุมานเพื่อตัดสินใจและกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ ได้แล้ว ทักษะต่อมาที่สำคัญที่สุดคือทักษะการแก้ไขปัญหานั่นเอง

Critical Thinking มีขั้นตอนอย่างไร สรุปง่ายๆให้เข้าใจใน 5 ขั้นตอน

หลักการ Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ 5. ขั้น ตอน ซึ่งหากต้องการที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะการคิดของตนเองสามารถเริ่มต้นได้จากขั้นตอนที่เราได้สรุปให้มาอย่างคร่าวๆ เพื่อบุคคลที่เริ่มฝึกฝนแต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มอย่างไรถึงจะถูกวิธี โดยที่จริงแล้วการฝึกให้ตนเองมี Critical Thinking ก็ไม่จำเป็นต้องอิงตามขั้นตอนเหล่านี้เสมอไป สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามปัญหาที่ได้เจอ

ขั้นที่ 1 ระบุประเด็นเพื่อกำหนดประเด็นของปัญหา เพื่อมองหาวิธีแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือและทำความเข้าใจ

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ จัดระบบข้อมูล  แยกแยะ ระหว่างข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ต่อจากนั้นจึงแปลและอธิบายปัญหาพร้อมหาเหตุผลประกอบ

ขั้นที่ 4 ประเมินความสมเหตุสมผลของข้อมูลที่มี เพื่อใช้ในการตัดสินใจ

ขั้นที่ 5 สรุปข้อมูล และพิจารณาทางเลือกที่สมเหตุสมผล

ทำยังไงถึงจะเป็นคนที่มี Critical Thinking ?

  • คนที่มีทักษะ Critical Thinking ที่ดีนั้นมักจะคิดหัวข้อหรือประเด็นต่างๆในรูปแบบการตั้งจุดมุ่งหมาย และเป็นเหตุเป็นผล
  • รู้จักการระบุและแยกแยะประเด็นต่างๆ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงประเด็นต่างๆเข้าด้วยกันได้ดี โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความเป็นไปได้
  • รู้จักประเมินมุมมองต่างๆเพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล มีวิธีการคิดแบบมีวิจารณญาณไม่หลงเชื่อข้อมูลที่ได้รับมาอย่างง่าย ๆ ต้องตั้งคำถามพร้อมหาเหตุผลรองรับชึดข้อมูลเหล่านั้นเสมอ
  • หากอยากเป็นคนที่มีทักษะ Critical Thinking ต้องรู้จักตั้งข้อสังเกตถึงผลเชิงลบต่อสิ่งต่างๆที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการฝึกจดจำในข้อด้อยหรือประเด็นเชิงลบต่าง ๆ แล้วนำมาอนุมานเพื่อใช้ในข้อโต้แย้ง นอกจากนี้ยังต้องฝึกเป็นคนที่มีการคิดโครงสร้างแบบเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำมาสนับสนุนข้อโต้แย้งต่างๆ

Critical Thinking Skill การพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็กยุคใหม่

เพราะการคิดแบบมีวิจารณญาณจากการฝึก Critical Thinking skill ที่ต้องอาศัยความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมารองรับในการตัดสินใจเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นสำคัญในทุกช่วงวัย ซึ่ง Code Genius ก็เห็นความสำคัญและมุ่งพัฒนาหลักสูตรให้สอดรับกับ Critical Thinking เช่นกัน เพื่อให้น้องๆมีทักษะที่พร้อมรับกับโลกยุคใหม่ ที่มีข้อมูลมากมายจากหลากหลายแหล่งที่มา

เราเป็น Coding Academy ยุคใหม่ที่มีหลักสูตรสอนให้น้องๆได้รู้จักการคิดวิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่ได้เรียนรู้มาด้วยตนเอง อีกทั้งยังส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้น้อง ๆ ได้ฝึกมองปัญหาในมุมต่างๆเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาจากองค์ความรู้ที่ได้เรียน น้อง ๆ จะได้ลองฝึกคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้หลักการ Critical Thinking ด้วยตนเองโดยมีคุณครูของเราเป็นผู้ชี้แนะอย่างใกล้ชิด

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

บทความที่เกี่ยวข้อง