Empathy คือ? 3 วิธีสอนทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้กับเด็ก

Empathy ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่สามารถปลูกฝังให้กับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ทักษะส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาสังคมในอนาคตให้ยั่งยืน

Category :

Empathy คือ

Empathy ทักษะการเห็นอกเห็นใจ 

Empathy ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้นสามารถปลูกฝังให้กับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยสามารถช่วยกันผลักดันและปลูกฝังผ่านพี่น้องหรือผู้ใหญ่ที่ค่อย ๆ สอนและส่งเสริมเขาด้วยความเอาใจใส่ การที่เราปลูกฝังให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะมี Empathy นั้นจะเป็นการเสริมสร้างทักษะที่ช่วยปกป้องเขาจากการกลายเป็นผู้ที่ Bully คนอื่น ลดความเสี่ยงในการมีบุคลิกภาพแบบ Antisocial หรือการต่อต้านสังคม และลดความเสี่ยงในการที่เขาจะเติบโตขึ้นมาเป็นฆาตรกรหรือบุคคลที่ชอบใช้ความรุนแรงได้อีกด้วย

Empathy คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก

Empathy คือ ความสามารถในการเข้าใจคนอื่นในมุมมองที่พวกเขาเป็น และป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้แต่ละบุคคลเกิดความเข้าใจกันในมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจำเป็นในการสร้างบรรยากาศของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

การสอนเด็ก ๆ ในเรื่องของการมี Empathy ให้กับผู้อื่นนั้นไม่เพียงแต่จะมีต่อบุคคลที่รู้จักหรือเห็นหน้าค่าตากันเท่านั้น แต่เรายังสามารถมีการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นทางดิจิทัลได้เช่นกัน โดยการกระทำนี้เรียกว่า Digital Empathy คือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยนึกถึงผู้อื่นเสมอ โดยการสอนให้เด็ก ๆ ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการว่าร้าย หรือใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการคุกคามหรือกลั่นแกล้งผู้อื่น

เติบโตไปเป็นผู้นำที่มี Empathy leadership

หากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในการที่จะมีความเห็นอกเห็นใจให้กับผู้อื่นตั้งแต่วัยเยาว์นั้น เมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะมี Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจให้กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนรวมไปถึงผู้ที่ต้องทำงานร่วมกัน เขาจะพยายามทำความเข้าใจความรู้สึกของคนเหล่านั้น พร้อมกับพยายามหาที่มาที่ไปว่าทำไมบุคคลถึงทำผิดพลาดแต่ละคนมีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้เกิดความผิดพลาด จนอยากให้คนเหล่านั้นรู้สึกดีขึ้น และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งการกระทำตามข้างต้นนั้นส่งผลให้เด็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวและก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ได้รับความรัก และความเคารพซึ่งอาจรวมไปถึงการได้รับความเกรงใจจากบุคคลรอบข้างเมื่อเติบใหญ่อีกด้วย 

การที่เด็ก ๆ จะมี Empathy ได้นั้นต้องฝึกทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ที่จะช่วยให้เข้าใจคนอื่นว่าเขารู้สึกอย่างไรจากการรับฟังปัญหาของผู้อื่น และสร้างบรรยากาศของการเป็นผู้ฟังที่ดี การฟังคนอื่นไม่ใช่เป็นเพียงการทำความเข้าใจคนอื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยทำให้คนที่มีความทุกข์ใจได้รับการเยียวยาและเชื่อใจจนสามารถระบายออกมา

ทักษะเหล่านี้ที่พูดถึงในข้างต้นเป็นสิ่งที่ดีและช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำให้กับเด็ก ๆ เป็นทักษะที่จำเป็นในการทํางานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อหัวหน้าหรือผู้นำมีทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้ง จะทำให้ความไว้วางใจระหว่างทีมหรือคนในกลุ่มสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่ม psychological safety และทำให้ผู้ร่วมทีมมีความสุข ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานกับกลุ่มของตนได้ด้วยเช่นกัน

Empathy คือ รากฐานสำคัญของทักษะ Design thinking

Empathy นั้นไม่ได้หมายถึงการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหรือความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในเชิงจิตวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่ในทาง Design thinking นั้นคำว่า Empathy ที่หมายถึงจะเป็นการเข้าใจปัญหาในเชิงลึกถึงต้นเหตุที่จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถึงต้นตอหรือที่รู้จักกันด้วยคำว่า Empathize โดยการที่สอนให้เด็ก ๆ มี Empathize นั้นเขาจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาเดิมอีกซ้ำ ๆ นั่นเอง 

ส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม

Empathy คือ ความเห็นอกเห็นใจที่เรามีให้กับผู้อื่น ซึ่งจะดีมากยิ่งขึ้นหากเรามี Sympathy คือ ความรู้สึก กังวล เกี่ยวกับคนอื่นในลักษณะที่อยากจะให้เขามีความสุขมากขึ้นรวมอยู่กับความเห็นอกเห็นใจนั้นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวของเด็ก ๆ เองกับผู้อื่น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานเป็นทีมอีกด้วย เพราะทุกคนจะเกิดความเชื่อใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ทุกคนในกลุ่มรู้หน้าที่ของตนเองและรู้ว่าเพื่อนในกลุ่มเหมาะกับหน้าที่ใด ดังนั้น Empathy กับ Sympathy จึงเป็นอีกทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมากในการทํางานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 

3 วิธีสอน Empathy ให้กับเด็ก

Empathy หรือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการสร้างความเชื่อใจระหว่างบุคคลเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ สามารถมีความสุขในการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้มากขึ้น และส่งผลให้เด็ก ๆ รับรู้และเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นได้ในแบบที่เขาเป็นก่อนที่เด็ก ๆ จะเข้าไปช่วยเหลือ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของคนอื่น 

เมื่อเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ทักษะการเห็นอกเห็นใจได้ตั้งแต่เล็ก ๆ ในช่วงวัยที่กำลังพัฒนา พวกเขาจะมีทักษะในการเอาใจใส่อย่างมากในชีวิตจริง หรือกล่าวอีกอย่างว่าตอนที่พวกเขากลายเป็นผู้ใหญ่ เขาจะกลายเป็นคนที่ดูแลผู้อื่นด้วยความอ่อนโยน เคารพ และเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ซึ่งการปลูกฝังทักษะแห่งอนาคตดังกล่าวนี้ให้แก่เด็ก ๆ วันนี้ Code genius มี 3 เทคนิคง่าย ๆ มาฝากกัน

สอนให้เด็กๆ คิดถึงคนอื่น

การสอนเด็ก ๆ รู้จักคิดถึงบุคคลรอบข้างนั้น เป็นอีกการเริ่มต้นที่ดีของการสอนให้เด็กมี Empathy เพราะการคิดถึงคนอื่นจะทำให้เด็กๆ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” และเขาจะระลึกถึงทุกครั้งว่า การกระทำของเขาจะกระทบกับคนอื่นหรือไม่ เขาจะคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นอยู่เสมอ นอกจากนี้การที่คนเรารู้จักคิดถึงบุคคลรอบข้างนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สังคมของเราน่าอยู่มากขึ้น เพราะทุกคนในสังคมจะคิดถึงความรู้สึกของคนรอบข้างนั่นเอง

ให้ความรักและความอบอุ่นแก่เด็ก

หากเราต้องการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มี Empathy รู้จักให้เกียรติคนอื่น รักหรือเข้าใจผู้อื่นนั้น เราก็ต้องให้ความรักกับเขามาก ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่อย่างเราควรมอบให้แก่เด็ก ๆ ก็คือ การแสดงออกอย่างจริงใจให้เขาได้เห็นและรับรู้ว่า “พวกเขามีตัวตน” โดยการแสดงให้เด็กรู้สึกว่าพวกเขาสำคัญกับเรา ด้วยการสนับสนุนให้เด็ก ๆ ได้แสดงความสามารถ ได้เรียนรู้โลก ได้ฝึกการใช้ชีวิตที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการ และมอบความเห็นอกเห็นใจให้กับเขา เมื่อพวกเขาได้รับความรักจากเรามากพอ เขาจะเกิดความรู้สึกรักตัวเอง จากนั้นเมื่อเขารักตัวเองมากพอแล้ว เขาจะเผื่อแผ่ความรักไปถึงคนและสิ่งอื่นๆ ในสังคมต่อไป

ต่อมานอกจากการให้ความรักแก่เด็ก ๆ เพื่อให้เขาเรียนรู้ที่จะรักตัวเองแล้ว ขั้นต่อมาเราควรสอนให้เขาเรียนรู้ที่จะ “ให้” เพื่อส่งต่อความรักให้คนอื่น ทั้งนี้การให้ที่เราหมายถึงไม่ได้จำเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งของเท่านั้น แต่เราสามารถสอนให้เด็ก ๆ รู้จักการให้ความช่วยเหลือ ให้เกียรติ ให้โอกาส ให้อภัย ให้ความเห็นอกเห็นใจกับผู้อื่น เพราะสิ่งเหล่านี้เด็กๆ สามารถทำได้ตามความสามารถของเขา และไม่ต้องใช้เงินทองอะไรเลย เมื่อเด็ก ๆ รู้จักการให้สิ่งเหล่านี้ จะเป็นการทำให้เขาเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและคุณค่าของคนอื่น ๆ 

เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ

วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเฝ้ามองสิ่งต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ ดังนั้นเราสามารถสอนวิธีมี Empathy ที่ถูกต้องในการสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีด้วยการเป็นตัวอย่างในการให้คุณค่า เอาใจใส่ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงการเห็นอกเห็นใจเมื่อมีคนเสียใจ, เสียขวัญ หรือกำลังสับสน รวมถึงให้ความเห็นอกเห็นใจพร้อมทั้งให้ความร่วมมือเมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ นอกจากนี้เมื่อเด็ก ๆ แสดงความรู้สึกที่ไม่ดี ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่จะต้อง “รับรู้” ความรู้สึกของพวกเขา แสดงความห่วงใย และดูแลจนพวกเขาส่งสัญญาณว่าเขาโอเค และพร้อมจะไปทำสิ่งอื่นต่อ

วิธีสอน Empathy กับการเรียนกับ Code Genius

Code genius เป็น codingacademy ชั้นนำที่มีหลักสูตรรับรองให้น้อง ๆ ที่สนใจเรียน coding เด็ก ได้มาสัมผัสกับประสบการณ์ Coding ด้วยตนเองด้วยการผสานรูปแบบการสอนแบบ Active learning ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ตามรูปแบบความชื่นชอบของตนเองทำให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน

นอกจากนี้คุณครูของทาง Code genius ยังมีวิธีสอนโดยใช้ Empathy ให้ความเอาใจใส่กับน้อง ๆ ทุกคนเพื่อพยายามทำความเข้าใจผู้เรียน ในชั้นเรียนแต่ละคนว่ามีความต้องการอย่างไร มีปัญหาตรงไหนและไม่เข้าใจตรงไหนหรือไม่ มีความเห็นอกเห็นใจให้กับผู้เรียน เพื่อให้น้อง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในชั้นเรียน เชื่อใจคุณครูและมีความกล้าที่จะทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้การเรียนรู้ของน้อง ๆ เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง