Gamification เกมเพื่อการศึกษา ยกระดับการเรียนให้สนุกและได้ความรู้

เข้าใจแนวคิดเกมเพื่อการศึกษา หรือ Gamification คืออะไร พร้อมยกระดับคุณการเรียนของลูกให้สนุกด้วยเกมการศึกษาออนไลน์

Category :

gamification featured image
เลือกอ่านตามหัวข้อ

Gammification เกมเพื่อการศึกษา ยกระดับคุณภาพการเรียนด้วยเกมการศึกษาออนไลน์

ประโยชน์ของ Gamification คือ การสร้าง “พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Desired Behaviour) ให้เกิดขึ้น โดยการใช้ Gamification ในการศึกษานั้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์เป็น เกมการสอนออนไลน์ และเกมเพื่อการศึกษา

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

Gamification คือ?

Gamification คือ วิธีการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างสนุกสนาน ท้าทาย โดยการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของเกม ได้แก่ การตั้งเป้าหมายให้เกิดความสนุกและเกิดความท้าทาย เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วจึงเกิดการให้รางวัล ทำให้เกิดการแข่งขันในผู้เล่น(ผู้เรียน) และมีผลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อใช้ในการจัดลำดับ มาปรับใช้กับการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนในรูปแบบ Active Learning ซึ่งเป็นการสอนเชิงรุก 

นอกจากนี้การเรียนการสอนในรูปแบบ Gamification ที่นำเกมเพื่อการศึกษามาปรับใช้นั้น สามารถนำมาสอนในรูปแบบ Hybrid Learning ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ได้อย่างสะดวกสบายเนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมผ่านเกมการสอนออนไลน์ และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ต่าง ๆ ได้แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่กัน

 

5 ประโยชน์ของ Gamification เกมเพื่อการศึกษา สำหรับเด็ก

การบูรณาการของการใช้รูปแบบเกมเข้าไปในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้หลักการและรูปแบบ Gamification ที่ใช้รางวัลเพื่อจูงใจให้กับผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมาก 

นอกจากนี้การเรียนการสอนที่ใช้เกมเพื่อการศึกษายังสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับหลักการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆในยุคปัจจุบันได้อีกมากมาย ที่พร้อมจะเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการเติบโตในโลกยุคโลกาภิวัฒน์เช่นทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการคิดโดยใช้หลักตรรกะและเหตุผล ทักษะการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเติบโตและรู้เท่าทันโลกยุคใหม่

1) เสริมสร้างทักษะการคิด

การเรียนรู้โดยใช้หลักการ Gamification หรือ เกมมิฟิเคชั่น เป็นการเรียนรู้ที่กระตุ้นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้ซึ่งเป็นหลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ โดยเด็ก ๆ จะต้องใช้องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition) การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition)  การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm) ในการเล่นเกมเพื่อการศึกษาที่จะต้องมีความพยายามเพือเล่นให้ผ่านด่านหรือเล่นให้ดีขึ้นในครั้งถัดไป เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายและได้รางวัลตามเงื่อนไขที่ตัวเกมกำหนดไว้

2) เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา

จุดเด่นของหลักการ Gamification คือ ใช้กลไกของเกมเป็นตัวดำเนินการอย่างไม่ซับซ้อน อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ตรวจสอบ ปรับปรุง และหาวิธีการแก้ไขปัญหา โดยหลักการนี้จะต้องมีความสนุกและท้าทาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาหรือ Problem solving โดยผู้เรียนจะต้องหาทางคิดวิธีแก้ปัญหาเพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเงื่อนไขหรือดีกว่าเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อที่จะได้รับรางวัลที่กำหนดไว้ ซึ่งเมื่อเกิดการทำซ้ำ ๆ จะส่งผลให้ผู้เรียนมองเห็นพัฒนาการของตัวเองอีกด้วย

3) เสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยี

นอกจากแนวทาง Gamification จะสอดคล้องกับการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning แล้วนั้น ผู้สอนยังสามารถจัดกิจกรรม STEM เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ STEM ศึกษาได้อีกด้วย โดยผู้สอนสามารถสอดแทรกสื่อเกมเพื่อการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเกมตอบคำถาม หรือจัดการแข่งขันกันภายในห้องเรียนเกี่ยวกับการนำเนื้อหาที่ได้สอนในชั้นเรียนไปประยุกต์ 

และยังสามารถสอนให้ผู้เรียนได้รู้จักนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ผ่านการสอนออนไลน์ให้สนุกด้วยการใช้เกมการศึกษาออนไลน์สอดแทรกไปในเนื้อหาต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Gamification โดยอาจจะใช้เพื่อทดสอบความรู้หรือทบทวนบทเรียนและเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้เรียนไปแล้ว เพื่อกระตุ้นให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยรูปแบบการเรียนใหม่ ๆ ที่จูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความสนุก

การเรียนแบบ Gamification ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักสื่อการสอนโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้หลักการใหม่ ๆ อาจส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และค้นพบตนเองว่าชื่นการเรียนแบบ Gamification และสนใจที่อยากจะสร้างเกมขึ้นมา ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านที่ผู้เรียนชื่นชอบและฝึกแนวคิดการใช้หลักเหตุผลและตรรกะ 

การสร้างเกมพื้นฐานนั้นก็มีหลากหลายโปรแกรมที่สามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมที่ฝึกการ Coding ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และฝึกสร้างเกมได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ทั้งนี้ทักษะการ Coding จะฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เหตุผลมากขึ้นและสามารถนำความคิดเชิงตรรกะต่างๆไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

4) เพิ่มความสนุกสนานในห้องเรียน และ การทำงานเป็นทีม

วิธีการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างสนุกสนาน ท้าทาย คือการที่ผู้สอนได้นำเอากิจกรรมเกมการศึกษาและเกมการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเอากลไกของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้นในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน หรือที่เรียกว่าการเรียนรู้ตามแนวคิด Gamification มาผสมผสานประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการสอน 

อีกทั้งยังสามารถนำ เกม ที่ เล่น เป็น กลุ่ม มาเสริมสร้างต่อยอดเป็นกิจกรรม team based learning คือ การเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐาน ที่มีเป้าหมายดังนี้

1. สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา

2. พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา

3. เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้

ซึ่งการเรียนรู้โดยอาศัย Gamification สามารถทำให้ผู้เรียนในชั้นเรียนให้ความร่วมมือกันเพื่อที่จะสร้างผลลัพธ์ให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ เกิดการสนทนา กระตุ้นการเรียนรู้ อีกทั้งยังเกิดความท้าทายและความสนุกสนาน ซึ่งเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนด้วยกันได้อีกด้วย

 

5) สร้างความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับความผิดพลาดและการให้ Feedback

ผลป้อนกลับ หรือ Feedback เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิด การกระทำที่ถูกต้อง หรือการกระทำที่ผิดพลาด เพื่อแนะนำไปในทางที่เหมาะสม

การเรียนรู้ในรูปแบบ Gamification นั้นทำให้ผู้เรียนได้รู้ว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ เช่นเดียวกับเกมที่แพ้แล้วเริ่มใหม่ได้ ซึ่งถ้าผู้สอนสามารถสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้โดยเปลี่ยนจากคำว่า ‘ทำไม่ได้’ มาเป็น ‘ยังทำไม่ได้’ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือเด็ก ๆ ได้ลองผิดลองถูกก็จะช่วยให้เด็ก ๆ เกิดความมุ่งมั่นและเกิดแรงจูงใจที่จะพยายามทำสิ่งนั้นซ้ำๆ ซึ่งส่งผลดีกับการเรียนรู้ที่ได้ฝึกฝนและทำซ้ำบ่อย ๆ จนเกิดการจดจำ และผู้เรียนยังรู้สึกสนุกสนาน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ส่งผลให้การเรียนรู้ในเนื้อหาต่าง ๆ เกิดประสิทธิภาพ

 

5 องค์ประกอบของ Gamification เกมเพื่อการศึกษา

Gamification คือ การนำเอากลไกและองค์ประกอบของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ โดยใช้เกมการสอนออนไลน์หรือเกมเพื่อการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจและความน่าตื่นเต้น ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี ทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับเนื้อหาความรู้ และเกิดกระบวนการที่ง่ายต่อการเข้าใจในสิ่งที่ซับซ้อน โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ได้พูดถึงมีดังต่อไปนี้ 

1. เป้าหมาย

เป้าหมาย (Goals) เกมแต่ละชนิดมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่มีในทุกเกมคือเป้าหมายของการเล่นเกมที่ทำให้ผู้เล่นนั้นเกิดแรงจูงใจและอยากที่จะเอาชนะ ที่ผู้ออกแบบเกมกำหนดไว้ ทำให้เกิดความท้าทายที่ช่วยให้ผู้เล่นก้าวไปข้างหน้า เมื่อบรรลุเป้าหมายจึงจะเป็นการจบเกม นอกจากนี้ในบางเกมนั้นอาจจะจำเป็นต้องประกอบด้วยเป้าหมายเล็กที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ เพื่อให้เกิดการเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จบเกมเร็วเกินไป

2. กฏ

กฎ (Rules) เกมจะต้องมีการบอกถึง กฎ กติกา วิธีการเล่น วิธีการให้คะแนน หรือพูดง่ายๆก็คือ ผู้ออกแบบเกมจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน โดยอธิบายไว้เพื่อให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม 

3. การแข่งขัน การแข่งขัน หรือความร่วมมือ

ความขัดแย้ง (Conflict) เป็นการเอาชนะโดยการทำลายหรือขัดขวางฝ่ายตรงข้าม 

การแข่งขัน (Competition) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม 

ความร่วมมือ (Cooperation) เป็นการร่วมกันเป็นทีมเพื่อเอาชนะอุปสรรค และบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกันจาก เกม ที่ เล่น เป็น กลุ่ม ที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้เล่นในกลุ่มเดียวกัน

4. เวลา

เวลา (Times) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงผลักดันในการทำกิจกรรมหรือการดำเนินการ และสามารถนับเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ออกแบบเกมได้กำหนดไว้ โดยการจับเวลาอาจจะทำให้ผู้เล่นเกิดความเครียดและความกดดัน ซึ่งเป็นการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญในการทำงานที่จะต้องสัมพันธ์กับเวลาและแรงกดดัน ดังนั้นจะต้องเรียนรู้การจัดสรรบริหารเวลาซึ่งเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ

5. รางวัล

รางวัล (Reward) เป็นสิ่งที่ผู้เล่นจะได้รับเมื่อประสบความสำเร็จหรือได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ซึ่งควรจะมีป้ายรายการจัดลำดับคะแนน (Leader Board) อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการจูงใจและท้าทายให้ผู้เล่นแข่งขันกันทำคะแนนสูง

3 ตัวอย่าง Gamification เกมเพื่อการศึกษา ด้วย เกมการสอนออนไลน์

ผู้สอนสามารถนำหลักการของ Gamification หรือ เกมิฟิเคชั่น มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้อย่างหลากหลาย เพื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ ให้มีความสนุกสนานและท้าทายมากขึ้น เนื่องจากทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเกม โดยมีเป้าหมายในการเรียนรู้ผ่านการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การสะสมแต้ม การให้รางวัล การเลื่อนระดับ ซึ่งองค์ประกอบในการเรียนรู้โดยใช้แผนการ สอน เกม การ ศึกษาเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความซึมซับเนื้อหาโดยไม่รู้ตัวผ่านกิจกรรมที่ใช้กลไกของ Gamification

โดยในปัจจุบัน Hybrid Learning หรือการเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ เริ่มเป็นที่นิยมขึ้นมาหลักจากสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนไม่สามารถอยู่ในชั้นเรียนในรูปแบบ On site ได้ตลอดหลักสูตร ดังนั้นผู้สอนจึงต้องมีการปรับตัวโดยการหันมาสอนในรูปแบบออนไลน์กันมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสามารถมีการ จัด กิจกรรม ใน ห้องเรียน อย่าง สนุกสนานที่สอดคล้องกับกลไก Gamification ได้โดยใช้เกมการสอนออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในชั้นเรียน และขอนำตัวอย่าง เกมส์ ต่างๆ ที่ ใช้ ใน กิจกรรมการศึกษาไม่ว่าจะเป็นเกมการสอนออนไลน์ หรือเกมภายในห้องเรียน ที่สามารถมาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนอันเป็นที่นิยมมาแนะนำให้ได้รู้จักกัน

1. QuizWhizzer

Quizwhizzer เป็นเกมการสอนในรูปแบบของบอร์ดเกม ถ้าผู้เรียนตอบคำถามถูกก็จะก้าวไปข้างหน้า ถ้าตอบผิดก็ต้องถอยหลัง และผลแพ้ชนะจะอยู่ที่ใครตอบถูกเร็วสุด ไวสุด ก็จะเคลื่อนที่ไปถึงเส้นชัยก่อนก็จะชนะไป ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกมการสอนออนไลน์ที่สนุกและช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี จากการที่ต้องตอบคำถามเก็บแต้มเพื่อเดินไปข้างหน้าและเกิดการแข่งขันกันตามหลักของ Gamification ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มขึ้น

Quizwhizzer เป็นเกมการสอนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพื่อใช้ในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีในห้องเรียนในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในรูปแบบออนไลน์ การศึกษานอกห้องเรียน หรือจะเป็นการศึกษาภายในห้องเรียน นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สนุกสนานกับการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ แล้ว ยังกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์คำถามได้อย่างถี่ถ้วนเพื่อไม่ให้ตนเองตอบผิดแล้วเดินถอยหลังกลับไปยังจุดเดิม และยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

2. Kahoot!

เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประเภทของเกมการศึกษาแบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Kahoot ถูกออกแบบให้เข้าถึงได้ในห้องเรียน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างเกมทางการเรียนรู้ได้เอง สามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแบบพกพา รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์หรือทางแอพพลิเคชั่น Kahoot! 

Kahoot! ถูกออกแบบสำหรับการเรียนรู้ทางสังคม โดยผู้เรียนจะต้องรวมตัวรอบหน้าจอเดียวกัน ถึงแม้ว่า Kahoot! อาจจะไม่เหมาะกับการเป็นเกมการสอนออนไลน์เท่าใดนักเนื่องจากผู้เล่นจะต้องมาอยู่บริเวณรอบๆหน้าจอเดียวกันแต่ก็เป็นสื่อเกมเพื่อการศึกษาโดยใช้องค์ประกอบของ Gamification มาประยุกต์ในการเรียนรู้ให้เกิดความสนุกสนาน ได้แข่งขันและมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน และยังเป็นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนได้รู้จักการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

3. 99Math

เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นเกมเพื่อการศึกษาที่ใช้ในการฝึกคิดเลขเร็ว เหมาะสำหรับนักเรียนตั้งแต่ ป.1- ม.6 มีโจทย์เลขที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การคำนวณเศษส่วน จุดทศนิยม ถอดสมการหาค่าตัวแปร X Y การคิดพื้นที่เรขาคณิต ฯลฯ โดยสามารถเลือกระดับความยาก และหัวข้อสำหรับฝึกได้ตามต้องการ จะฝึกคนเดียว หรือ แข่งขันคิดเลขเร็วแบบ Live ก็สามารถทำได้ และยังทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าการคิดเลขเป็นเรื่องสนุก ให้ผลลัพธ์การฝึกที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการเก็บแต้ม มีการแข่งขันกันภายในชั้นเรียน 

นอกจากนี้ยังเติมฟีเจอร์ท้าทายใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ให้เด็ก ๆ ได้รู้สึกสนุกเพิ่มมากขึ้น เช่น โหมด Time Attack ที่ให้ผู้เล่นแข่งแก้โจทย์แบบจับเวลานับถอยหลัง หรือระบบ Score board ยิ่งตอบถูก ยิ่งได้คะแนนเพิ่มขึ้น และจะแสดงคะแนนของคนอื่น ๆ ที่กำลังแข่งอยู่ในห้องเดียวกันด้วยมีระดับความยาก-ง่ายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การเรียนคณิตของเด็ก ๆ นั้นไม่น่าเบื่ออีกต่อไป 

 

เรียนแบบ Gamification ไปกับ Code Genius ให้ลูกเรียนอย่างสนุกด้วยเกมเพื่อการศึกษา

การเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Gamification นั้นมีประโยชน์กับตัวผู้เรียนมากมาย ซึ่งทางสถาบันสอน Coding สำหรับเด็กอย่าง Code Genius ก็ได้เล็งเห็นประโยชน์ของหลักการนี้และนำมาประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต่าง ๆ ของเรา อีกทั้งยังประยุกต์สื่อการสอนในรูปแบบเกมเพื่อการศึกษาเข้ามาใช้กับทุก ๆ หลักสูตร เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดความสนุกในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการคิดเชิงตรรกะ ฝึกการแก้ปัญหา และสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาในชีวิตประจำวัน

และหากน้อง ๆ ที่เรียนถูกใจในการเรียนรู้ในรูปแบบแผนการ สอน เกม การ ศึกษา หรือ Gamification แล้วอยากเป็นผู้สร้างเกมและกำหนดเงื่อนไขเองจากการทำกิจกรรมเกมการศึกษา ทาง Code Genius ก็มีหลักสูตรรองรับนักสร้างเกมตัวน้อยอย่าง หลักสูตรการสร้างเกมจาก Scratch ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับตั้งแต่ระดับพื้นฐาน หรือ Beginner เพื่อทำความเข้าใจในแนวคิดและตัวโปรแกรม และหากน้อง ๆ มีความชำนาญและพร้อมที่จะกำหนดเงื่อนไขในเกมของตนเองให้มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นก็เพิ่มระดับหลักสูตรต่อไปในระดับ Intermediate และ Advanced ต่อไปตามลำดับ 

นอกจากนี้ Code Genius ยังมีหลักสูตร PyGame ที่เป็นการสอนสร้างเกมจากภาษา Python ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และหลักสูตรการสอนภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆให้กับน้อง ๆ ที่สนใจได้เลือกเรียนรู้ได้แบบไม่มีขีดจำกัด ตามความถนัดของตนเองได้อีกด้วย และเราได้บูรณาการทุกหลักสูตรของ Code Genius ให้เกิดความสนุกสนานจากการประยุกต์ใช้หลักการ Gamification ในทุกแผนการสอนของเราเพื่อให้น้อง ๆ เกิดแรงจูงใจ โดยการ set พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในชั้นเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงบวก ทำให้น้อง ๆ เกิดความสนใจในเนื้อหาโดยไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับและไม่น่าเบื่อ

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

 

บทความที่เกี่ยวข้อง