Active Learning การเรียนรู้รูปแบบใหม่ หลักสูตรนอกชั้นเรียน 2022

Active Learning คือ การเรียนแบบเชิงรุก หลักสูตรนอกชั้นเรียน สำหรับเด็กยุคใหม่ที่รวมเทคนิคการสอนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

Category :

what-is-active-learning-featured-image

Active Learning  คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับการเรียนยุคใหม่

Active Learning ทำไมถึงสำคัญ?

การสอนแบบ active learning มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะสามารถดึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนออกมาได้มากที่สุด เป็นการเรียนรู้ที่เป็นมีระบบขั้นตอนที่ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งเป็นกระบวนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา โดยมีเทคนิคการสอนแบบ active learning ให้ผู้สอนได้เลือกใช้มากมายไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมการสอนภายในชั้นเรียนหรือหลักสูตรนอกชั้นเรียน อีกทั้ง active learning ยังเหมาะกับการศึกษาในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษารายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่

การเรียนรู้แบบ active learning คือ รูป แบบ การ เรียน รู้ยุคใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้สูงสุดและเป็นเทคนิคการสอนที่ผู้เรียนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนที่สอนด้วยเทคนิคการสอนแบบ active learning จะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รู้จักการอ่าน พูด ฟัง และคิดอย่างลึกซึ้งโดยผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์บูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสื่อสารสนเทศและหลักการคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะการเรียนรู้แบบแอคทีฟเลินนิ่งเป็นกิจกรรมการสอนที่ตวรกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการศึกษาการ เรียน รู้ แบบ ร่วมมือเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ จากประสบการณ์ของตัวผู้เรียนเอง

ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

active learning คืออะไร? หากคุณสงสัย เราให้คำตอบคุณได้ การเรียนรู้แบบ active learning มักจะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นเทคนิค การ จัดการ เรียน รู้โดยมุ่งเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา โดยผู้สอนควรสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมให้กับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการ เรียน รู้ แบบ ร่วมมือ และเกิดการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน รวมถึงการจัดหลักสูตรนอกชั้นเรียนอยู่เป็นประจำเพื่อกระตุ้นให้เกิดการ เรียน รู้ แบบ active learning ในสถานที่และสถานการณ์ใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เก็บประสบการณ์และเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง

Active Learning คือการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนมากขึ้น โดยการสอนแบบ active learning นี้เป็นเทคนิคการสอนที่มักจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบรวมไปถึงการจัดหลักสูตรนอกชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน โดยมักจะเน้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ผ่านการระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

Active Learning แบบไหนให้สอดคล้องเป้าหมาย และเกิดสมรรถนะ

การสอนแบบ active learning คือ กระบวนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้และ กระบวนการ จัดการของผู้เรียนโดยจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการคิดแก้ปัญหาและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนรู้แบบ active learning นั้นผู้สอนควรจะต้องลดวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนผ่านลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาทในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม active learning ให้มากขึ้นโดยสามารถอิงตาม 5 ขั้น ตอน active learning พื้นฐานและปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ก็มีมากมายหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การ เรียน รู้ แบบ ร่วมมือที่เน้นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เช่นกิจกรรมที่จัดให้ศึกษากันเป็นกลุ่ม หรือไม่ว่าจะเป็นการนำเกมต่างๆมาประยุกต์เป็นกิจกรรมให้กับผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นและเกิดความสนุกสนานในเนื้อหาไม่น่าเบื่อ อีกทั้งยังมีการเรียนรู้ที่เน้นการถกเถียงกันด้วยเหตุผลหรือการโต้วาทีที่เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และในการจัดการเรียนรู้แบบแอคทีฟเลินนิ่งนั้นมักจะจัดควบคู่กับหลักสูตรนอกชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งใหม่ ๆ และเปิดประสบการณ์ในการเรียนรู้

Active Learning สอนอย่างไร? ในห้องเรียนจริง 

การสอนแบบ active learning มีข้อดีอย่างไร? ในกระบวนการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือการจัดการเรียนรู้แบบ active learning คือการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและเน้นไปที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้ศึกษา โดยมีขั้นตอนและวิธี การ สอน แบบ ต่างๆ 5 วิธี ด้วยกันที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดย 5 ขั้น ตอน active learning นี้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมของช่วงวัยและเนื้อหาที่เรียน

5 ขั้น ตอน active learning

การเรียนรู้แบบ active learning นั้นหากต้องการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพจะมีด้วยกันอยู่ 5 ขั้น ตอน active learning ซึ่งมักจะรู้จักกันใน 5 STEPS Active Learning ที่ผู้สอนควรที่จะออกแบบจัดการเรียนรู้ให้ได้ตามนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

5-process-of-active-learning-teaching
5 ขั้นตอนการสอนแบบ Active Learning

1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ โดยส่วนใหญ่มักจะใช้กระบวนการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้นำไปคิดต่อและเกิดขั้นตอนต่อไป

2. ขั้นสำรวจและค้นหา ในขั้นตอนนี้มีกจะทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์จากข้อมูลที่หาได้ว่าควรเชื่อถือแหล่งข้อมูลจากไหน อีกทั้งผู้เรียนยังได้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากการหาข้อมูลอีกด้วย

3. ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป ในขั้นตอนนี้มักจะเกิดการพูดคุยกันซึ่งเป็นรูป แบบ การ เรียน รู้ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นและช่วยกันสรุปผลข้อมูลซึ่งเป็นการ เรียน แบบ ร่วมมือในชั้นเรียน

4. ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ เป็นการนำความรู้ที่ได้ค้นคว้าและสรุปผลมาใหม่นี้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ส่งผลให้สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น

5. ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการประเมินการเรียนรู้ว่าผู้เรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใด ในขั้นนี้จะสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดที่ก่อให้เป็นประเด็นคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ

 

ตัวอย่างกิจกรรม การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

ตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิคการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดีเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ได้แก่ 

 

12-examples-of-active-learning-activities
12 กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

1. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดของแต่ละคนในเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มร่วมกัน

3. การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน(Student-led review sessions) คือ กิจกรรมที่เปิดให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และข้อสงสัยต่าง ๆ ในกิจกรรมนี้ผู้สอนมักจะต้องคอยช่วยเหลือหรือตอบคำถามในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือมีปัญหา

4. การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือ เทคนิคการสอนที่ผู้สอนนำเกมมาประยุกต์ใช้ในการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและไม่เบื่อเนื้อหา และยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น

5. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วิดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนดูวิดีโอที่เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียน จากนั้นจึงให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หรือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

6. การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนนำเหตุผลที่มาจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ มาโต้แย้งกันเพื่อยืนยันแนวคิดของตนเอง

7. การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือ การให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ตนเองได้รู้มาแล้ว

8. การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือ การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)

9. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) การให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีศึกษาตัวอย่างและวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความเห็นกันในการหาทางแก้ปัญหา

10. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนจดบันทึกเหตุการณ์หรือเนื้อหาต่างๆ รวมทั้งเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมจากบันทึกที่เขียน

11. การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว ข้อมูลข่าวสารต่างๆรวมทั้งเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เมื่อตรวจสอบความถูกต้องโดยการหาข้อเท็จจริง จากนั้นแล้วจึงแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

12. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือ กิจกรรมที่ใหห้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อ หาความเชื่อมกันของกรอบความคิดและข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาสรุปรวบยอดและนำเสนอผลงาน จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้เกิดการซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

Code Genius กับ Active Learning

Code genius เป็นสถาบัน coding สำหรับเด็ก ที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ที่เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ หลักสูตรนอกชั้นเรียนที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพทางสมองเพื่อให้น้อง ๆ ได้มีการเรียนรู้แบบเต็มประสิทธิภาพ เราเป็น codingacademy ที่เน้นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบเชิงรุก Code genius มีเทคนิคและรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง คุณครูจะเน้นให้ทำกิจกรรมที่น้อง ๆ จะได้คิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง เหมาะสมกับช่วงวัยและเนื้อหา ไม่มีการบรรยายที่น่าเบื่ออีกต่อไป

น้องๆ ยุคใหม่ ต้องมีหลายทักษะ
ลงทะเบียนฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมให้น้องๆ กัน !

บทความที่เกี่ยวข้อง