coding game เรียนรู้การเขียนโปรแกรมผ่านเกมที่สนุกและท้าทาย พร้อมส่งเสริมทักษะ coding
coding game คือการเรียนรู้ผ่านการเล่นหรือสร้างเกม เพื่อเรียนรู้ทักษะ coding ที่จะช่วยให้น้อง ๆ พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมอย่างสนุกและท้าทาย เป็นอีกหนึ่งวิธีเรียนรู้การแก้ปัญหาและการเขียนโค้ดผ่านเกมต่าง ๆ พร้อมตัวอย่างและคำแนะนำในการเลือกเกมที่เหมาะสมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียนรู้ทักษะการโค้ดดิ้ง

เกม Coding (coding game) คืออะไร
เกม Coding คืออะไร?
Coding game หรือเกมโค้ดดิ้ง คือ เกมที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ขั้นพื้นฐานผ่านการเล่นเกม นอกจากจะได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างมีระบบซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับการโค้ดดิ้งและเป็นหัวใจสำคัญของศาสตร์ Computational Thinking นอกจากนี้การเล่น Coding game ยังช่วยให้น้อง ๆ ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามหากต้องการเรียนรู้โค้ดดิ้ง
ประโยชน์ของเกม Coding (coding game)
การฝึกฝนทักษะ Coding ผ่านการเล่นเกมแก้ปัญหาอย่างเกม coding จะทำให้การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมมีความสนุกและท้าทายมากขึ้น การเรียนรู้ผ่านการเข้าเล่นมินิเกมต่าง ๆ ในรูปแบบ Coding game เป็นการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาให้กับน้อง ๆ การเรียนรู้ผ่านเกม coding ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ
ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่การเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมเขียนโค้ดก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถเรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานหลากหลายด้านอย่างทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skill) คือ ทักษะที่ใช้ในการระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งทักษะการแก้ปัญหาจะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับ Critical Thinking Skill สองทักษะนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเรียนรู้โค้ดดิ้ง ดังนั้นการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะเหล่านี้จึงสำคัญและ Coding game ก็เป็นแบบฝึกหัดอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
การเรียนรู้ที่สนุกและมีประสิทธิภาพ
ข้อดีที่โดดเด่นของการเล่น Coding game เพื่อการฝึกฝนทักษะโค้ดดิ้งจนเป็นที่นิยมในคนทุกเพศทุกวัย คือ การเล่นเกมเป็นการเรียนรู้ที่สนุกและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะมีความเพลิดเพลินและมีกฎกติกาที่ชัดเจน มีความท้าทาย ได้เห็นความก้าวหน้าของตนเองผ่านการทำคะแนนหรือการฝ่าด่านต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และทำให้สมองสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีตามหลักการเรียนรู้รูปแบบ Play-Based Learning
อีกทั้งเกม Coding ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการสอน STEM Education โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ Coding game จึงเป็นที่นิยมในการเรียนรู้ยุคใหม่ในเชิงรุกหรือ Active Learning ที่มุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักนั่นเอง
ตัวอย่างเกม Coding ที่แนะนำ
ตัวอย่างเกม Coding ที่ Code Genius อยากแนะนำเพื่อการเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เกมที่ใช้ภาษา Python ในการเรียนรู้การเขียนโค้ดและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างที่ดีของการเรียนรู้ผ่านเกม coding อีกทั้งยังมี Kidlo Coding ซึ่งเป็นเกม Coding ประถมที่ออกแบบมาเพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้การเขียนโค้ดผ่านมินิเกมที่สนุกสนาน
1. Python Game
Python Game หรือเกมที่ใช้ภาษา Python เพื่อสอนการเขียนโค้ดและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามโจทย์และกติกาที่เกมได้กำหนดไว้ เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
2. Kidlo Coding
Kidlo Coding เป็นแพลตฟอร์มเกม Coding ประถม ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นการเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งในเด็กปฐมวัย โดยน้อง ๆ จะได้เรียนรู้การเขียนโค้ดผ่านมินิเกมที่สนุกสนาน ทำให้น้อง ๆ ได้ฝึกคิดแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยโจทย์พื้นฐานที่ยังไม่ซับซ้อนมากจนเกินไปพร้อมด้วยกราฟฟิกต่าง ๆ ที่สดใสน่าสนใจ

วิธีการเลือกเกม Coding ที่เหมาะสม
วิธีการเลือกเกม Coding ที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อพัฒนาทักษะ Coding นั้น ควรเลือกเกมที่เหมาะสมกับระดับความรู้และความสามารถของตนเอง เช่น หากต้องการเล่นเกมโค้ดดิ้งไทยแลนด์ก็ควรเลือกในระดับสำหรับผู้เริ่มต้นหากต้องการสร้างพื้นฐาน และนอกจากนี้เนื้อหาของเกมที่เลือกเล่นควรเป็นประโยชน์และช่วยเสริมสร้างทักษะการเขียนโปรแกรมและการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
1. เลือกเกมที่เหมาะกับระดับความรู้
ผู้ที่ต้องการพัฒนาและฝึกฝนตนเองควรเลือก Coding game ที่มีความเหมาะสมกับระดับความรู้และความสามารถของตนเอง หากเป็นผู้เริ่มต้นก็ควรเลือกความยากและความซับซ้อนของตัวเกมในระดับพื้นฐาน แต่หากมีความรู้ความเข้าใจในหลักการโค้ดดิ้งหรือเขียนโปรแกรมมาประมาณหนึ่งแล้วก็ควรเลือกระดับความซับซ้อนของเกมที่มากเพิ่มขึ้นตามความสามารถของตนเอง จะเป็นการทำให้สามารถฝึกฝนและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. พิจารณาเนื้อหาของเกม
เนื้อหาของเกมควรเป็นประโยชน์และช่วยเสริมสร้างทักษะการเขียนโปรแกรมและการแก้ปัญหา เนื่องจากหลักการโค้ดดิ้งนั้นมีองค์ประกอบมาจากหลากหลายทักษะ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะด้านแนวคิดเชิงคำนวณต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นแล้วเนื้อหาภายใน Coding game แต่ละเกมก็จะพัฒนาทักษะต่างกัน ดังนั้นหากต้องการฝึกฝนทักษะใดก็ควรเลือกเกมที่มีเนื้อหาเหมาะสมนั่นเอง
สรุป
การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและส่งเสริมทักษะ coding สามารถทำได้ผ่านเกมที่สนุกและท้าทายอย่าง Coding game ที่จะช่วยกระตุ้นกลไกการทำงานของสมองให้เกิดความเพลิดเพลินและช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกม Coding จะมีมินิเกมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เล่นได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือกฎกติกาต่าง ๆ ที่เกมกำหนดเพื่อเก็บแต้มหรือคะแนน ซึ่งเป็นความท้าทายที่จะช่วยให้ผู้เล่นได้เรียนรู้การแก้ปัญหา และส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางการคิดเชิงคำนวณได้อย่างดี