web 3.0 อินเทอร์เน็ตไร้ตัวกลาง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกเทคโนโลยี

web 3.0 อินเทอร์เน็ตคืออะไร เทคโนโลยีสำคัญ เป็นโลกยุคใหม่กับสังคมออนไลน์จริงหรือไม่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบด้วยกัน

Category :

Web 3.0 อินเทอร์เน็ต

web 3.0 คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกอินเตอร์เน็ต

ในวันนี้ Code Genius จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจและทำความรู้จักวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต และอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ หรือ Web 3.0 ว่ามีความสำคัญอย่างไรในโลกยุคใหม่กับสังคมออนไลน์ เนื่องจากคำว่า อินเทอร์เน็ต คงจะเป็นคำคุ้นหูที่ทุกคนอาจเคยได้ยินมาอยู่แล้วไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่า อินเตอร์เน็ตคืออะไร? Website คืออะไร? ซึ่งในปัจจุบันเราได้ใช้งานอยู่บนโลกออนไลน์ที่ถูกพัฒนามาจนถึงเวอร์ชัน Web 3.0 แล้ว และในวันนี้ Code Genius จะไขข้อข้องใจเหล่านั้นให้น้อง ๆ เอง

อินเทอร์เน็ต หมายถึง ?

ก่อนที่น้อง ๆ จะเข้าใจว่า web 3.0 คืออะไร ต้องเข้าใจก่อนว่า อินเตอร์เน็ตคืออะไร? และอินเทอร์เน็ต หมายถึงอะไร? ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวกว่าที่คิดเพราะเป็นสิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั่นเอง

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์ทั่วโลก มีการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์สื่อสารกันระหว่างการทำงาน เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อย่างเช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก เว็บบอร์ดต่าง ๆ เป็นต้น

แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักกับ Web 3.0 ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า Website คืออะไร

Website คือ สื่อนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการรวบรวมหน้าเว็บเพจหลายหน้าเข้าด้วยกัน เปรียบเหมือนเป็นหนังสือที่อยู่บนโลกยุคใหม่กับสังคมออนไลน์โดยสื่อสารกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ที่จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเปิดด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า Web Browser โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) ต่อมาได้มีการพัฒนาและนำภาษาอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น และในอนาคตอันใกล้นี่ Website จะถูกพัฒนาจนอยู่ในเวอร์ชัน Web3 หรือ Web 3.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดที่มีประสิทธิภาพที่สุด

web 3.0 คืออะไร?

เมื่อพูดถึงการมีอยู่ของ ‘Web 3.0’ ซึ่งเป็นการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตและเป็น Website เวอร์ชันในอนาคตอันใกล้ ทำให้รู้ได้ว่าก่อนหน้านี้จะต้องมี Website เวอร์ชันก่อน ๆ อย่าง Web 1.0 และ Web 2.0 โดยการกำเนิด Website นั้นเริ่มจาก Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ในยุคเริ่มแรกของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

ย้อนวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต ก่อนมาถึง web 3.0

อินเทอร์เน็ตเริ่มกำเนิดขึ้นมา ในปี 1989 ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี วิศวกรด้านคอมพิวเตอร์ของอังกฤษ เป็นคนที่คิดค้นวิธีการสื่อสารข้อความหลายมิติ (Hypertext) ในรูปแบบของ Website คือ สื่อที่ใช้ในการให้ข้อมูลแก่สาธารณะในรูปแบบการสื่อสารแบบทางเดียว (One Way Communication) ผู้อ่านไม่สามารถโต้ตอบกลับมาได้ ซึ่งสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง และข้อความ และผู้ที่จะสามารถแก้ไข Website ได้ก็จะมีเพียงเจ้าของเท่านั้น โดยเนื้อหาและข้อมูลของ Website มักจะนิยมสร้างเป็น เว็บไซต์ประกาศข่าว เว็บไซต์รับสมัครงาน หรือ เว็บไซต์ประวัติส่วนตัว เป็นต้น

เมื่อ Website เป็นสื่อที่อยู่ในรูปแบบการสื่อสารแค่ทางเดียว ข้อจำกัดในการใช้งานต่าง ๆ จึงตามมา เนื่องจากในยุค Web 1.0 เว็บไซต์ก็เหมือนเป็นหนังสือที่อยู่ในห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์ที่ให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านได้เพียงอย่างเดียวผ่านอินเทอร์เน็ต และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือข้อมูลภายในเว็บไซต์ก็มีความยุ่งยากและลำบาก ดังนั้น จึงมีการพัฒนา Website เป็นเวอร์ชันต่อมาเรื่อย ๆ เป็น Web 2.0 และ Web 3.0 ที่เราใช้กันนั่นเอง

Web 1.0

Web 1.0 คือ เว็บไซต์ประเภท Static Web Page หรือ เว็บเพจที่ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลตามที่มีการจัดเก็บไว้ใน Web Server ผ่าน Web Browser บนอินเทอร์เน็ต เป็นเว็บไซต์เวอร์ชันแรกที่ถูกก่อตั้ง โดยมีข้อจำกัด คือ ผู้ใช้งานจะอ่านข้อมูลบนเว็บเพจได้เพียงอย่างเดียว อีกทั้งการแก้ไขข้อมูลนั้น จะต้องแก้ไขโค้ดของไฟล์ HTML จากต้นฉบับเท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากเป็นอย่างมาก

Web 2.0

Web 2.คือ  เว็บไซต์ที่พัฒนามาจาก Static ของ Web 1.0 เรียกว่า Dynamic Web Page การแสดงข้อมูลแต่ละหน้าจะเน้นการสร้างเนื้อหาข้อมูลอิงจากพฤติกรรมผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ทางผู้ใช้งานก็เปลี่ยงแปลงข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ใช้งานทั่วไป อย่างไรก็ตาม บุคคลที่สามหรือบริษัทเทคโนโลยีจะมีบทบาทอย่างมากบนแพลตฟอร์มประเภท Web 2.0 โดยเฉพาะการตรวจสอบเนื้อหาที่ถูกเขียนขึ้นบนแพลตฟอร์ม และยังมีอำนาจในการระงับหรือเซนเซอร์เนื้อหาหรือข้อมูลเหล่านั้นอีกด้วย

Web 3.0

Web 3.0 จะเป็น The Next Era of the Internet เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความอัจฉริยะมากขึ้น สามารถทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ และ Web 3.0 จะทำให้เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning (ML), Big Data, AI, Blockchain และนวัตกรรมเทคโนโลยีอัจฉริยะอื่น ๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และวิวัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คอนเซ็ปต์ของ Web 3.0 คืออะไร

Web 3.0  เดิมทีเรียกว่า Semantic Web หรือเว็บที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างระบบ คน และอุปกรณ์ IoT ได้แบบอัตโนมัติ เป็นแนวคิดการใช้งานเว็บไซต์ที่เอื้อให้ผู้ใช้งานถือสิทธิความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ สามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถทำงานและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งยังมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูล โครงสร้างฐานข้อมูล และกฎที่ใช้จัดการข้อมูล

Web 3.0 ในอนาคตอันใกล้

Sergey Nazarov หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Chainlink ได้พูดถึง Web 3.0 ในหัวข้อการนำเสนอ “Future of Chainlink” ว่า เทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในยุคของ Web 3.0 คือ DeFi (Decentralized Finance) และ NFT (Non-fungible Token) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่การใช้งานอินเตอร์เน็ตถูกปฏิรูปที่เกิดการเปบี่ยนแปลงขึ้นมาใหม่แก่ผู้ใช้งาน และในอนาคต เมื่อผู้ใช้งานและสถาบันต่าง ๆ เริ่มให้การยอมรับมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของการเป็นเครือข่ายที่ Open, Transparent, Reliable และ Decentralized ให้มีความแข็งแกร่งขึ้นไปด้วยนั่นเอง

สิ่งที่เป็นเทคโนโลยี Web 3.0 คืออะไร

จากการรายงานของ Singapore Fintech Festival ได้กล่าวไว้ว่าหากจะเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต Web 3.0 นั้นจะต้องมีสามองค์ประกอบสำคัญ คือ 

1) บริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-driven services) ที่ทำการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยตนเองจากฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ส่งผลให้เกิดประสบการณ์บนอินเทอร์เน็ตเฉพาะเจาะจงไปตามแต่ละบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน 

2) การจัดเก็บข้อมูลไร้ตัวกลาง (decentralised data architecture) เป็นการเก็บข้อมูลผ่านระบบบล็อกเชนซึ่งยากต่อการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลภายนอก

3) การประมวลผลใกล้แหล่งข้อมูล (edge computing) ที่จะทำให้อุปกรณ์ทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การที่เราสามารถรันอัลกอริทึมจดจำใบหน้าในเว็บไซต์ได้ด้วยสมาร์ทโฟนที่มีอยู่ในมือ โดยทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ข้อดีของ Web 3.0

อินเทอร์เน็ตยุค Web 3.0 จะมีระบบบล็อกเชนที่เป็นตัวรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้กับผู้ใช้งาน โดยจะกระจายการเก็บข้อมูลให้ไปอยู่ในหลายแหล่ง หรือหลายโนด (node) การยืนยันตัวตนที่ต้องได้รับการพิสูจน์จากหลายโนดพร้อมกันจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลอื่นนั้นเป็นไปได้ยาก ต่างจากการเก็บข้อมูลในยุค Web 2.0 ที่มักจะเก็บอยู่ในแหล่งข้อมูลเดียวหรือไม่กี่แหล่ง

ทำไม Web 3.0 จึงมีความสำคัญ

ในปัจจุบัน Web 2.0 ที่เราใช้กันทุกวันนี้มีปัญหาใหญ่ที่ยังแก้ไม่ได้ คือ ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ซึ่งการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ของผู้ให้บริการในยุคอินเทอร์เน็ต Web 2.0 ในปัจจุบัน ยังถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์อยู่หลายครั้งในกรณีที่ข้อมูลถูกเข้าถึงได้จากบุคคลอื่นหรือเหตุการณ์ที่ข้อมูลหลุดออกไปจากระบบ

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในยุค Web 3.0 จะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจและสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับ และข้อมูลที่ได้ส่งออกไป นอกจากนี้ผู้ให้บริการหรือแพลตฟอร์มจะไม่สามารถควบคุมคอนเทนต์และข้อมูลที่ออกมาจากผู้ใช้งานได้ การตัดสินใจหรือนโยบายในอินเทอร์เน็ตในยุค Web 3.0 จะมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ด้วยความที่การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งจะมาจากกลุ่มผู้ใช้งานหรือกลุ่มคนที่ผลิตคอนเทนต์เป็นหลัก ดังนั้น รายได้ที่มาจากคอนเทนต์ก็จะตกเป็นของเจ้าของที่สร้างคอนเทนต์แบบเต็มจำนวนโดยไม่ผ่านผู้ใช้บริการหรือแพลตฟอร์ม

และเมื่อ Web 3.0 รวมเข้ากับเทคโนโลยี AI ระบบจะประมวลผลจากการใช้อินเทอร์เน็ตของแต่ละคน จนสุดท้าย AI ได้วิเคราะห์และออกมาเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ปรับไปตามแต่คน ประสบการณ์ในการท่องเว็บไซต์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเช่นกัน

Web 3.0 กับ Code Genius

การที่จะไปถึง Web 3.0 ได้ จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานเรื่องการสร้างเว็บไซต์ก่อน คอร์สเรียนของ Code Genius ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเว็บไซต์ที่น่าสนใจคือ คอร์ส HTML/CSS เป็นคอร์สเริ่มต้นในการสร้างเว็บไซต์ ที่สามารถนำเสนอข้อมูลทั้งในรูปแบบข้อความ รูปภาพ ตาราง วิดีโอ และสามารถจัดวางองค์ประกอบให้ดูน่าสนใจ มีการตกแต่งตามสไตล์เว็บไซต์ปัจจุบัน และยังมีคอร์ส Web Application ซึ่งเป็นการสร้างเว็บระดับสูง สามารถประมวลผลข้อมูลได้ และแก้ปัญหาเฉพาะทางตามที่ User ต้องการ

สรุป Web 3.0

ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตยุค Web 3.0 นั้นยังไม่มาถึงจึงเป็นสิ่งที่ใหม่มากในโลกยุคใหม่ ดังนั้น เราจึงควรที่จะต้องติดตามข่าวสารกันต่อไปว่า โลกอินเทอร์เน็ตในอนาคตจะไปในทิศทางใด มีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขและเฝ้าระวัง และเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วมีข้อดีมากกว่าข้อเสียอย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง