Double Diamond Design Process กระบวนการคิด ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ยุคใหม่

Double Diamond คือ หนึ่งใน process กระบวนการคิดที่เป็นหนึ่งในจุดสำคัญของการใช้ design thinking และ The Double Diamond Design Process เป็นกระบวนการออกแบบเพชร 2 เม็ด ซึ่งคิดค้นโดย UK Design Council เป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมในระดับสากล

Category :

Double Diamond Design Process

Double Diamond Design Process

แนวคิดเรื่อง Design Thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathise Define Ideate Prototype และ Test ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เราฝึกกระบวนการคิดรวมไปถึงฝึกความคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาเส้นทางไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ ๆ 

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นวิธีที่คิดค้นโดย Stanford เป็นวิธีการคิดที่ทำให้เกิดแนวทางพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ซับซ้อน โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการที่ต้องเข้าไปทำความเข้าใจความต้องการของมนุษย์ กำหนดกรอบของปัญหา โดยเน้นมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) ใช้วิธีการระดมสมอง (ฺBrainstorm) เพื่อหาไอเดียที่หลากหลายและสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การสร้างต้นแบบ จากนั้นจึงเริ่มการทดสอบ 

โดยแนวคิดเรื่อง Design Thinking ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย Design Council ประเทศอังกฤษ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของของการออกแบบอุตสาหกรรมในประเทศ ต่อมานักเศรษฐศาสตร์ Herbert A. Simon ได้เขียนหนังสือที่กล่าวถถึงรูปแบบของการออกแบบให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเกิดแนวคิดการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้งาน นำไปสู่กระบวนการค้นหาความต้องการของผู้ใช้ เน้นการมีส่วนร่วมและการทดลองพัฒนาผลลัพธ์ที่เน้นความง่ายและความสนุก

Double Diamond Design Process

Double Diamond Design Process คืออะไร ?

ในบทความนี้ Code Genius จะมาแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จักหนึ่งโมเดลของแนวคิดเรื่อง Design Thinking ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงาน นั่นก็คือ The Double Diamond Design Process หรือ กระบวนการออกแบบแบบเพชร 2 เม็ด ซึ่งโมเดลรูปแบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย UK Design Council โมเดลนี้ได้รับความนิยมในระดับสากลซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่าย ๆ ว่า 4D แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ Discover Define Develop และ Deliver

1. Discover การค้นพบปัญหา

ขั้นตอนแรกของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในรูปแบบโมเดล Double Diamond Design Process นี้ก็คือ Discover หรือการค้นพบปัญหา เป็นการทำความเข้าใจกับปัญหาให้ลึกซึ้งมากที่สุด ซึ่งเมื่อเราค้นพบปัญหาแล้วนั้นจะต้องทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริงก่อน ข้อนี้เราอาจจะต้องตั้งค่าความคิดของเราเป็น 0 (set zero) โดยไม่ใช้สมมติฐานหรืออคติส่วนตัว 

ในขั้นตอนการทำความเข้าใจและค้นพบปัญหานั้นสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้จากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษและฟังอย่างลึกซึ้ง หรืออาจจะใช้การเก็บข้อมูลในรูปแบบของการสร้างแบบสอบถามขึ้นมาเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงนั่นเอง 

2. Define ตัวบ่งชี้ หรือ ตัวกำหนด

ขั้นตอนที่ 2 ของ Double Diamond Design Process จากที่เราได้มองเห็นและค้นพบสาเหตุของปัญหาทั้งหมดแล้ว จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน Define หรือการกำหนดปัญหา โดยนำเอาข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในรูปแบบต่าง ๆ ในขั้นตอน Discover มาวิเคราะห์ต่อไปเพื่อที่จะต้องระบุให้ได้ว่าปัญหาใดเป็นปัญหาที่แท้จริงเพียงปัญหาเดียว เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างตรงประเด็น 

นอกจากนี้การระบุปัญหาให้ชัดเจนนั้นก็ยังเป็นสิ่งสำคัญของ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Double Diamond Design Process อีกด้วยเพราะทำให้น้อง ๆ สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด มีเป้าหมายและทิศทางชัดเจนในการดำเนินงานแก้ปัญหา ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

3. Develop การพัฒนา

ขั้นตอนที่ 3 ของ Double Diamond Design Process เมื่อน้อง ๆ ได้ค้นพบถึงแก่นหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแล้ว น้อง ๆ จะต้องใช้ความคิดระดมสมอง เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ระบุไว้ในขั้นตอนก่อนหน้า โดยจำเป็นที่จะต้องคิดให้รอบด้าน หรือพยายามคิดนอกกรอบเพื่อสร้างสรรค์การแก้ปัญหาใหม่ ๆ จนพบแนวทางที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าวิธีการเดิม ๆ จนไปสู่การออกแบบหรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาและเป็นที่ต้องการของสังคม

4. Deliver นำไปปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการ Deliver หรือการนำไปปฎิบัติจริง เป็นขั้นตอนสุดท้ายของ Double Diamond Design Process ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นวิธีที่น้อง ๆ จะได้ทราบว่าวิธีแก้ไขปัญหาที่ได้คิดและออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหานั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยการนำไปใช้ทดลองแก้ไขปัญหาจริง ๆ และยังต้องเก็บข้อมูลของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อมาประมวลผลและพัฒนาต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพที่มากว่าเดิมด้วยเช่นกัน

d.school

d.school คือ สถาบันด้านการออกแบบในสังกัดของมหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ด (Stanford University) ได้สร้างโมเดลกระบวนการออกแบบแผนภูมิกระบวนการคิดที่มีรูปแบบไม่เป็นเส้นตรงที่มีความใกล้เคียงกับกระบวนการ Double Diamond แต่ได้เพิ่มขั้นตอนที่ใช้ในการสร้างความเข้าใจ (Empathy) เพื่อตอบสนองความต้องการมากขึ้น  โดยแยกย่อยกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ให้มีความละเอียดเพิ่มขึ้น ขั้นตอนแรกเริ่มจากการสร้างความเข้าใจปัญหา (Empathize) การระบุประเด็น (Define) การระดมความคิด (Ideate)  การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบ (Test) โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบในรูปแบบนี้สามารถดำเนินการแบบกลับไปกลับมาเพื่อตรวจสอบสมมติฐานและระดมความคิดใหม่เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สมบูรณ์ที่สุดนั่นเอง

Double Diamond Design Process
แผนภูมิกระบวนการคิดที่มีรูปแบบไม่เป็นเส้นตรง Friis Dam and Teo 2020

IDEO’s Design Process

IDEO คือ บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชื่อดังของโลก ซึ่งผลงานที่น้อง ๆ น่าจะรู้จักคือการคิดค้นเมาส์ตัวแรกของโลกให้ Apple อีกทั้งยังช่วย IKEA ในการออกแบบเครื่องครัวสำหรับอนาคตด้วย (IDEO 2020c) ซึ่งบริษัทใหญ่ระดับโลกแห่งนี้ก่อตั้งโดย Tim Brown ผู้เขียนหนังสือ Change by Design

วิธีการคิดแบบสร้างทางเลือกและการสรุปผล IDEO 2020b

Double Diamond Design Process
Divergent and convergent thinking
IDEO

วิธีการคิดแบบสร้างทางเลือกและการสรุปผล IDEO 2020b เป็นกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่อาศัยการสร้างสรรค์หาวิธีการหรือทางออกใหม่ ๆ ให้กับปัญหา โดยตั้งอยู่บนฐานของความต้องการ (Desirability) สามารถทำได้จริง (Viability) และความคุ้มค่า (Feasibility) 

โดยโมเดลการคิดแบบสร้างทางเลือกและการสรุปผลมีกระบวนการคิด 3 ขั้นตอน คือ การหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) จากการมองเห็นภาพรวมของประเด็นปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการแก้ไข การระดมความคิด (Ideation) เพื่อหาความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา ไปจนทำการสรุปแนวความคิดและหาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และการประยุกต์ใช้ (Implementation) ซึ่งเป็นการสรุปข้อมูลที่ได้จากการระดมความคิดเพื่อนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ให้ได้วิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด

สรุป Double Diamond และ Design Thinking Process

กระบวนการทำ Design Thinking ทั้ง 3 โมเดล ไม่ว่าจะเป็น Double Diamond Design Process, แผนภูมิกระบวนการคิดที่มีรูปแบบไม่เป็นเส้นตรง (A non-linear process) และ การคิดแบบสร้างทางเลือกและการสรุปผล (Divergent and convergent thinking) มีความคล้ายคลึงกันในขั้นตอนที่เป็นหลักสำคัญที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ การหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) การระดมความคิด (Ideation) และการประยุกต์ใช้ (Implementation) และแตกต่างกันในขั้นตอนการแยกย่อยในส่วนของการดำเนินงานตามประเด็นที่แต่ละสถาบันให้ความสำคัญ

Double Diamond Design Process

ประเด็นสำคัญของการทำกระบวนการ Double Diamond Design Process รวมไปถึง Design Thinking ในรูปแบบต่าง ๆ คือต้องมีการพิจารณาความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ นอกจากนี้จะต้องมีการนำไปใช้จริงและทดสอบผลลัพธ์ เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีการที่คิดค้นขึ้นมานำไปใช้งานได้ดีและสามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง หากพบว่าไม่ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ สามารถนำกลับไปเข้ากระบวนการคิดอีกครั้งเพื่อพัฒนาและหาจุดที่บกพร่องได้

การปรับหลักการของ Double Diamond Design Process ในชั้นเรียน

Code Genius เป็นสถาบันสอน Coding ที่นำหลักการของ Double Diamond Design Process มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเริ่มจากการหาแรงบันดาลใจในการเรียนทุก ๆ ครั้ง เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทราบ Objectives ว่าบทเรียนหรือกิจกรรมในวันนี้เมื่อสำเร็จแล้วจะได้อะไร และในการทำกิจกรรมหลักเป็นกลุ่ม น้อง ๆ จะได้ระดมความคิด ในการสร้างขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ทุกคนในกลุ่มยอมรับได้ โดยมีครูเป็นผู้ช่วยทำให้เข้ารูปเข้ารอย และสุดท้ายจะได้สรุปการประยุกต์ใช้กับปัญหาอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง