Blockchain คืออะไร ? รวมเทคโนโลยี ” บล็อกเชน ” ที่น่าสนใจ ฉบับคนทั่วไปก็เข้าใจได้

Blockchain คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลที่น่าสนใจในปัจจุบัน รวมไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น Financial, Smart Contact, Digital ID, Internet of Things และอื่น ๆ อีกมากมาย

Category :

Blockchain

Blockchain คืออะไร ? รวมเทคโนโลยี “บล็อกเชน” ที่น่าสนใจ ฉบับคนทั่วไปก็เข้าใจได้

เทคโนโลยี Blockchain ที่นำมาใช้งานในปัจจุบัน เป็นตัวช่วยในการป้องกันข้อมูลสำคัญและเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรานำมาใช้งานได้อย่างถูกวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับความต้องการ โดย Code Genius จะพาทุกคนมาทำความรู้จักและเข้าใจ Blockchain ให้ดีเสียก่อน ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

ภาพประกอบ: เทคโนโลยีบล็อกเชน ( Blockchain )  

ขอบคุณภาพจาก https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.finnomena.com%2Ftaspong%2Fidc-report-blockchain%2F&psig=AOvVaw0S9Azmf3rQm4vz_pqjtOpz&ust=1711794157420000&source=images&cd=vfe&opi=89978449&ved=0CBIQjRxqFwoTCIDu2MGgmYUDFQAAAAAdAAAAABAd

จุดเริ่มต้นของ Blockchain

Blockchain technology (เทคโนโลยีบล็อกเชน) กำเนิดขึ้นมาและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อว่า Ralph Merkle ซึ่ง Blockchain เป็นระบบโครงสร้างวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงบล็อกของข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นลูกโซ่ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลา เนื่องจากผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลในลูกโซ่เหล่านั้นได้ และในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้ดีมากยิ่งขึ้นและถูกพัฒนาเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจทั่วโลกครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis มีบุคคลนิรนามที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิตอลสกุลแรกที่ใคร ๆ ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ โดยมีการนำ Blockchain มาใช้เพื่อสร้างระบบสกุลเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Trustless System ซึ่ง Bitcoin Network ถือว่าเป็นระบบแรกที่ใช้งานในรูปแบบนี้

ทำไม? บล็อกเชน ( Blockchain ) จึงมีความสำคัญ

เนื่องจากเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) นั้นเป็นระบบการทำงานของฐานข้อมูลขั้นสูงที่มีความโปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชน (Blockchain) จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้าว่า ข้อมูลดังกล่าวในลูกโซ่นั้นจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาและคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้ถ้าหากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ดังนั้น จึงเหมาะสมในการสร้างบัญชีแยกประเภทที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้และการใช้งานระบบที่มีกลไกภายในที่ป้องกันการเพิ่มธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตและสร้างมุมมองของธุรกรรมร่วมอย่างสม่ำเสมอ

โดยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้นั้นเนื่องจากเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคหลายประการสำหรับการบันทึกธุรกรรมทางการเงินและเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น บล็อกเชนมีการสร้างระบบแบบกระจายศูนย์และป้องกันการดัดแปลงแก้ไข ในการบันทึกธุรกรรมบล็อกเชนจะสร้างบัญชีแยกประเภทหนึ่งบัญชีสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยในการทำธุรกรรมทั้งหมดจะต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองฝ่ายและจะได้รับการอัปเดตโดยอัตโนมัติในบัญชีแยกประเภททั้งคู่แบบเรียลไทม์

ภาพประกอบ: ความสำคัญของบล็อกเชน ( Blockchain )  

ขอบคุณภาพจาก https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.krungsri.com%2Fth%2Fplearn-plearn%2Fblockchain-innovation-transfer-realtime&psig=AOvVaw0S9Azmf3rQm4vz_pqjtOpz&ust=1711794157420000&source=images&cd=vfe&opi=89978449&ved=0CBIQjRxqFwoTCIDu2MGgmYUDFQAAAAAdAAAAABAR

ประโยชน์ที่ได้จากการไร้ตัวกลาง หรือ decentralized มีอะไรบ้าง

  1. Ownership ความเป็นเจ้าของ จากที่เราต้องฝากเงินฝากชีวิตให้กับตัวกลางเป็นคนดูแล ต้องขออนุญาตทุกครั้งไม่ว่าจะดูหรือโอนเงินในบัญชี มาตอนนี้ Blockchain ทำให้เราสามารถเก็บทรัพย์สินหรือเงินนี่แหละกับตัวเองได้จริง ๆ ตอนโอนก็โอนเลยแบบ Peer-to-Peer ไม่ต้องขอใคร
  2. Open & Neutral ความเป็นระบบเปิดและเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร ระบบไม่สนใจหรอกครับ ทุกคนมีสิทธิเข้ามาใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีลำเอียงหรือสองมาตรฐาน
  3. Transparency & Immutability ความโปร่งใสและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ ซึ่งข้อมูลบน Blockchain นั้นจะเชื่อถือได้โดยทุกฝ่าย เพราะเรารู้ว่าไม่มีบริษัทไหนหรือใครแอบเข้าไปแก้ข้อมูลย้อนหลังได้ อีกทั้งมันจะอยู่อย่างถาวรอีกด้วย
  4. Security ความปลอดภัย ถ้าเซิร์ฟเวอร์กลางมันมีไม่กี่ที่ Hacker ก็รู้เป้าโจมตี และทำจนกว่ามันจะสำเร็จ แค่พลาดครั้งเดียวข้อมูลบัญชีก็อาจถูกแก้ไขได้ แต่ถ้าเรากระจายบัญชีไปทั่วโลก จะแก้ทีก็ต้องแฮกคอมพิวเตอร์นับไม่ถ้วนพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว ไม่งั้นก็ถูกจับได้ว่าข้อมูลผิด
  5. Borderless ความไร้พรมแดน ปกติแล้วเราจำเป็นต้องพึ่งตัวกลางในแต่ประเทศ ยกตัวอย่างเช่นการเปิดบัญชีธนาคาร แต่ระบบนี้มันไม่จำกัดประเทศ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันไม่รู้ด้วยว่าเราอยู่ที่ไหน เพียงแค่เรามีอินเตอร์เน็ต เราสามารถใช้งานระบบได้ทุกเมื่อ
  6. Cut Cost ลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าพอไม่มีธุรกิจตัวกลางที่มากินกำไรแล้ว ค่าใช้จ่ายของการทำธุรกรรมนั้นลดลงแน่นอน

Blockchain มีกี่ประเภท?

โดยทั่วไป Blockchain สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท โดยรายละเอียดของแต่ละประเภทมีดังนี้

1. Public Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชนที่เป็น open network ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมได้เรียกว่า Public Blockchain หรือ เครือข่ายบล็อกเชนแบบเปิดสาธารณะ โดยส่วนใหญ่ผู้คนนั้นมักจะใช้บล็อกเชนสาธารณะในการแลกเปลี่ยนและขุดสกุลเงินดิจิตอลต่าง ๆ อย่างที่ได้กล่าวไปในหัวข้อข้างต้น

2. Private Blockchain

Private Blockchain หรือ เครือข่ายบล็อกเชนแบบปิด เป็นบล็อกเชนที่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดผู้เข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับคำเชิญหรือได้รับการอนุญาตเท่านั้น โดย Private Blockchain เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบเก็บข้อมูลเฉพาะในองค์กร หรือธุรกิจที่ต้องการใช้บล็อกเชนสำหรับงานภายในที่มีข้อมูลเฉพาะของธุรกิจเท่านั้น

3. Hybrid Blockchain

Hybrid Blockchain เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่นำเอารูปแบบการทำงานของเครือข่ายบล็อกเชนแบบปิดและแบบสาธารณะมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลส่วนต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเฉพาะ เพื่อใช้สิทธิ์ในการได้รับอนุญาตควบคู่ไปกับระบบเปิดที่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนอื่น ๆ ได้

4. Consortium Blockchain

Consortium Blockchain เป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนที่พัฒนาสร้างขึ้นมาโดยนำข้อดีของ Public Blockchain และ Private Blockchain มาใช้ร่วมกัน โดยมีองค์กรศูนย์กลางทำหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลบล็อกเชน และกำหนดสิทธิ์ในการอนุญาติให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างจำกัด โดยมีการใช้งานร่วมกันในหลาย ๆ องค์กรรวมไปถึงในธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ และได้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันนั่นเอง

เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของ blockchain ในแต่ละประเภท

1. Public Blockchain

  • ข้อดีของ Public Blockchain
    • เป็นอิสระจากองค์กร สามารถเข้าถึงได้ง่าย
    • ใช้เซิร์ฟเวอร์จากศูนย์กลาง ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์เอง สามารถเช่าและจ่ายตามที่ใช้งานจริง
    • ความโปร่งใสของเครือข่าย หากผู้ใช้ปฏิบัติตามโปรโตคอลและวิธีการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดและไม่ละเลย บล็อกเชนสาธารณะส่วนใหญ่ก็จะปลอดภัย
  • ข้อเสียของ Public Blockchain
    • มีความช้าและสิ้นเปลือง เนื่องจากมีการรับ-ส่งข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก เพราะใช้เซิร์ฟเวอร์ร่วมกัน
    • ข้อมูลบน Public Blockchain จะเป็นสาธารณะ คือเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะชน ไม่มีความเป็นส่วนตัว

2. Private Blockchain

  • ข้อดีของ Private Blockchain
    • สะดวก รวดเร็ว
    • ข้อมูลเฉพาะต่าง ๆ ภายในองค์กรถูกจัดเก็บเป็นความลับ
    • ควบคุมและกำหนดระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ส่งผลให้ข้อมูลมีความปลอดภัย และการตั้งค่าระดับการอนุญาตเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้เกิดความเป็นส่วนตัว
  • ข้อเสียของ Private Blockchain
    • มีผู้มีอำนาจและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระเพียงคนเดียวคือผู้ที่ดูแลเครือข่าย

3. Hybrid Blockchain

  • ข้อดีของ Hybrid Blockchain
    • มีการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล แต่สามารถตั้งค่าเพื่ออนุญาตให้บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดได้
    • มีความปลอดภัย
    • สามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน
  • ข้อเสียของ Hybrid Blockchain
    • ไม่มีความโปร่งใสอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนถูกปิดเอาไว้
    • ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนรูปแบบนี้

4. Consortium Blockchain

  • ข้อดีของ Consortium Blockchain
    • ข้อมูลยังมีความเป็นส่วนตัว ไม่หาย หรือถูกแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย
    • ผู้ใช้งานไม่ต้องแบกรับต้นทุนไว้แต่เพียงผู้เดียว
    • สามารถควบคุมและตั้งค่ากำหนดระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงความปลอดภัยในข้อมูลได้
    • มีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัย
  • ข้อเสียของ Consortium Blockchain
    • การปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งานไม่มีความคล่องตัว เนื่องจากต้องผ่านความเห็นชอบจากเครือข่ายส่วนกลาง
    • มีความโปร่งใสในการใช้งานข้อมูลน้อยกว่า Public Blockchain

การนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับการดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ โดยสามารถที่จะอธิบายการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในส่วนย่อยดังต่อไปนี้

1. บริการด้านการเงิน

ระบบการเงินแบบดั้งเดิม มีการพัฒนาปรับปรุงโดยใช้บริการ Blockchain ในการจัดการการชำระเงินออนไลน์ บัญชี และการซื้อขายในตลาด การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในบริการด้านการเงินนั้นส่วนใหญ่ใช้ในการสร้างบัญชีการชำระเงินระหว่างธนาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการนำบล็อกเชนมาใช้ทำให้สามารถแก้ไขอุปสรรคจากระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้หลายประการ ซึ่งรวมถึงการประมวลผลแบบกลุ่มและการสรุปยอดด้วยตนเองจากการทำธุรกรรมทางการเงินหลายพันรายการ

2. การใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contact)

บริษัทต่าง ๆ นำ Blockchain มาใช้เพื่อจัดการสัญญาธุรกิจด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้บุคคลที่สามช่วยเหลือหรือการใช้การใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contact) เป็นข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเงื่อนไขตรงตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งระบบบล็อกเชนนั้นจะเรียกใช้การตรวจสอบเงื่อนไข if-then เพื่อให้ธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์

3. การประยุกต์ใช้ในเรื่องของการพิสูจน์ตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID)

การประยุกต์ใช้ในเรื่องของการพิสูจน์ตัวตนแบบดิจิทัล (Digital ID) เป็นการใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่ประยุกต์กับการเข้ารหัสคีย์สาธารณะ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณสมบัติด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล เป็นระบบที่ใช้เพื่อระบุผู้เข้าร่วมในเครือข่ายบล็อกเชนโดยเฉพาะ การทำงานของกลไกนี้จะสร้างคีย์สองชุดสำหรับสมาชิกเครือข่าย คีย์ชุดหนึ่งคือคีย์สาธารณะที่ทุกคนในเครือข่ายใช้ร่วมกัน และอีกชุดหนึ่งเป็นคีย์ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ซ้ำกันสำหรับสมาชิกแต่ละคน ทั้งนี้คีย์ส่วนตัวและสาธารณะจะทำงานร่วมกันเพื่อปลดล็อกข้อมูลในบัญชีแยกประเภท เพื่อระบุตัวตนจากการพิสูจน์ตัวตนแบบดิจิทัลในการจำแนกผู้เข้าถึงข้อมูล

4. Internet of Things (IoT)

Internet of Things หมายถึง เครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกัน เป็นเครือข่ายของเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์โดยใช้ระบบคลาวด์เป็นตัวกลาง ซึ่งการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาเป็นตัวช่วยในการสร้างเสริมความปลอดภัยของข้อมูลนั้นมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้งาน Internet of Things ที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อชีวิตมนุษย์และการทำงาน

ภาพประกอบ: การใช้บล็อกเชน (Blockchain) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ  

ขอบคุณภาพจาก

https://thailandinsidenew.com/wp-content/uploads/2020/12/97482B4F-1433-4BCA-97B3-17B3179CC2C3.jpeg

สรุป

เทคโนโลยี Blockchain เป็นกลไกในการป้องกันฐานข้อมูลขั้นสูงที่ภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ซึ่งทำให้ธุรกิจเป็นเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง มีความโปร่งใส ปลอดภัยและสามารถตรวจเช็กได้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในธุรกิจได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ Public Blockchain, Private Blockchain, Hybrid Blockchain, Consortium ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด ในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานภายในธุรกิจซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สามารถเห็นได้ว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้าม

ขอบคุณเนื้อหาจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง