Learning How to Learn เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
การเรียนรู้ด้วยแนวคิด Learning How to Learn เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมทั่วโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคุณ ไม่ว่าจะต้องการพัฒนาความจำหรือเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ก็จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างถูกวิธีที่เหมาะสมกับตัวคุณ บทความนี้จะช่วยให้คุณได้เข้าใจถึงกระบวนการคิดและนำแนวคิด Learning How to Learn ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
แนะนำแนวคิด Learning How to Learn และความสำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ในการเรียนรู้แนวคิด Learning How to Learn นั้นจะต้องเรียนรู้ในด้านที่สนใจด้วยความตั้งใจ ทุ่มเท จดจ่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักการผ่อนคลายสมอง รู้จักที่การหยุดพักระหว่างเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ทั้งสองรูปแบบที่ทำสลับกันไปมานั้นจะช่วยกระตุ้นให้สมองสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่และมีผลลัพธ์จากการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม
Learning How to Learn คืออะไร?
แนวคิด Learning How to Learn คือ วิชาที่สอนให้เข้าใจว่าไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ถ้าเรียนอย่างถูกวิธี โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ได้ค้นพบว่าวิธีการเรียนรู้ที่บุคคลส่วนใหญ่ไม่ว่าจะตั้งแต่ในวัยเด็กประถมไปจนถึงคนวัยทำงานใช้นั้น เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่ำและไม่สัมพันธ์กับการทำงานของสมอง ซึ่งส่งผลให้การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นหากต้องการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพก็ควรเรียนรู้อย่างถูกวิธีนั่นเอง
ประโยชน์ของ Learning How to Learn
ประโยชน์ของ Learning How to Learn นอกจากจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนรู้แบบไม่มีหลักเกณฑ์แล้ว หากคุณสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการทำงานของระบบสมองจะเป็นการพัฒนาความจำและการจดจำ ทำให้ไม่หลงลืมเรื่องต่าง ๆ ได้โดยง่ายซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต
นอกจากนี้การเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลัก Learning How to Learn ยังช่วยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ที่นำเอาความรู้ความสามารถในการปรับตัวต่อข้อมูลใหม่ ๆ ที่คุณได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั้นมาปรับใช้เข้าด้วยกัน เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรานั้นมีข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การจะดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ จึงควรหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและไม่เกิดข้อบกพร่องในด้านใดนั่นเอง
เทคนิคการเรียนรู้ด้วย Learning How to Learn
เทคนิคการเรียนรู้ด้วย Learning How to Learn สิ่งที่ควรทำโดยเริ่มแรก คือ การกำจัดสิ่งรบกวนโดยรอบให้หมด เช่น โทรศัพท์มือถือ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพื่อให้คุณพร้อมสำหรับการจดจ่อในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ที่สุดและเพื่อให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้นั่นเอง ต่อมาจะพูดถึงเทคนิคการเรียนรู้ในแต่ละรูปแบบ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพให้การเรียนรู้และไม่ทำให้การเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ นั้นเป็นแค่การท่องจำน่าเบื่อ
การเรียนรู้แบบแอคทีฟ (Active Learning)
การเรียนรู้แบบแอคทีฟ (Active Learning) หรือการเรียนรู้เชิงรุกเมื่อนำมาผนวกเข้ากับแนวคิด Learning How to Learn จะยิ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ในรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก การเรียนรู้ในรูปแบบนี้จะเปิดโอกาสให้ คุณได้ทดลองในสิ่งใหม่ ๆ และได้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองซึ่งเป็นการกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ได้อย่างยอดเยี่ยม
การทบทวนแบบเป็นช่วง (Spaced Repetition)
การทบทวนแบบเป็นช่วง (Spaced Repetition) คือ การแบ่งจำหรือทบทวนข้อมูลเป็นช่วง ๆ คือการช่วงให้สมองได้พักผ่อนและฟื้นฟูความรู้ที่ได้เรียนไป โดยวิธีการเรียนรู้ของเทคนิคนี้ ได้แก่
- Add Learning to your Schedule : จัดตารางเวลาเรียน
- Keep Track of What You’ve Learned : บันทึกสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว
- Spaced Out Intervals : เว้นช่องว่างระหว่างทบทวนแต่ละครั้ง ออกไปเรื่อย ๆ
หากนำการทบทวนแบบเป็นช่วงมาผนวกใช้กับหลักการทำงานของสมองอย่าง Focused และ Diffused ตามแนวคิดของ Learning How to Learn ก็จะยิ่งทำให้การเรียนรู้ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
การใช้ Mind Mapping ในการเรียนรู้
มายด์แมป (Mind Map) เป็นเครื่องมือสะท้อนความคิด และเหมาะกับการนำมาใช้ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะหากนำมาใช้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ Learning How to Learn ที่ถูกวิธีตามระบบการทำงานของสมองจะช่วยให้ผู้เรียนบันทึกประสบการณ์ กระบวนการคิด การทำงานซึ่งจะสะท้อนการคิดของคุณให้เห็นมุมมองตั้งแต่เริ่มแรกไปจนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ จึงทำให้การเรียนรู้โดยใช้ Mind Mapping มีประสิทธิภาพสูง เพราะทำให้คุณได้เห็นพัฒนาการของตนเองและสามารถกลับมาทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปแล้วได้อย่างเป็นระบบ
การสอนผู้อื่นเพื่อเสริมความเข้าใจ (Think-pair-share)
การเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think-pair-share) หรือที่เรียกกันว่าการสอนผู้อื่นเพื่อเสริมความเข้าใจ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้จดจ่อและคิดตามในประเด็นที่กำลังเรียนรู้ และได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของคุณเองที่ได้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟัง ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกฝนทักษะการสื่อสารด้วยเหตุผลและฝึกให้กล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักการ Learning How to Learn ได้ตามหลักการสร้างการเชื่อมโยงในสมองที่ต้องหมั่นทบทวนและฝึกฝนอยู่เสมอเพื่อไม่ให้องค์ความรู้เลือนหายไปนั่นเอง
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Learning How to Learn แบบง่าย ๆ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในการทำงานของสมองมนุษย์เสียก่อน จึงจะสามารถเข้าใจเทคนิคการใช้แนวคิด Learning How to Learn โดยสมองของมนุษย์เรานั้นมีทั้งหมด 2 โหมดก็ คือ Focused และ Diffused สนใจและกระจาย การเรียนรู้ของสมองมี 2 ระบบ ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องรู้จักการใช้ทั้ง 2 โหมดของสมองเสมอซึ่งจะเป็นการสลับกันไปให้ชำนาญ จะทำให้เราเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำงานของสมอง Focused
ตามหลักของการเรียนรู้อย่างถูกวิธีที่ได้ระบุไว้โดย Barbara Oakley ผู้สอนวิชา Learning How to Learn ได้กล่าวว่าเมื่อคุณเริ่มมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กำลังเรียนรู้ สมองของคุณก็จะเริ่มเข้าสู่โหมด Focused ซึ่งในระหว่างนี้จะเป็นการที่สมองของคุณพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงสิ่งที่กำลังเรียนรู้ สมองจะรับรู้ในทุกรายละเอียดเป็นการเรียนรู้อย่างจริงจังและตั้งใจ เมื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Cognitive Load คือ ความรู้สึกหงุดหงิดใจหรือความรู้สึกปวดหัวและงุนงงกับสิ่งที่กำลังจดจ่ออยู่
การเกิด Cognitive Load นั้นคือสิ่งที่บ่งบอกว่าสมองของคุณนั้นกำลังพยายามเชื่อมโยงและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อยู่นั่นเอง โดยแสดงอาการออกผ่านความรู้สึกไม่สบายตัวหรือหงุดหงิดงุนงงขณะเรียนรู้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรยอมแพ้และเรียนรู้ต่อไปตามหลักของ Learning How to Learn แต่ Cognitive Load ก็มีข้อจำกัดคือ สมองของมนุษย์สามารถเชื่อมโยงและประมวลผลได้แค่ประมาณ 3-4 ไอเดียเท่านั้น เมื่อเกินกว่านั้นสมองของเราจะเริ่มทน Cognitive Load ไม่ไหวและทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Einstellung Effect นั่นเอง
Einstellung Effect เป็นอาการที่คุณมัวแต่จดจ่อกับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่มากจนเกินพอดี ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้ เนื่องจากคุณได้อยู่กับการแก้ปัญหาเดิมซ้ำ ๆ ด้วยวิธีการเดิม ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้และหาคำตอบได้ ตามแนวคิดของ Learning How to Learn ได้ระบุไว้ว่าหากคุณเกิดความจดจ่อกับสิ่งหนึ่งมากจนเกินไปจะทำให้ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าได้
การทำงานของสมอง Diffused
คำพูดที่ว่า “ลองถอยออกมาจากปัญหาสักก้าวจะเห็นปัญหาชัดกว่า” คือ หลักการของแนวคิด Learning How to Learn ที่นำไปสู่การใช้สมองอีกโหมดหนึ่ง นั่นก็คือโหมด Diffused เป็นการเรียนรู้เมื่ออยู่ภาวะการคิดแบบกระจาย ซึ่งเป็นระบบของสมองที่ไม่ได้จดจ่อกับอะไรเป็นพิเศษ ทำให้สมองอยู่ในสภาพผ่อนคลายหรืออยู่ในการพักผ่อน จะทำให้สมองของเราขยายการเชื่อมโยงไปยังกลุ่มก้อนความคิดที่แตกต่างออกไป และเชื่อมโยงในรูปแบบที่กว้างมากยิ่งขึ้นส่งผลให้สามารถคิดสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ได้
การสร้างการเชื่อมโยงในสมอง
ตามแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญ Learning How to Learn ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยงเซลล์สมองเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการพยายามทำความเข้าใจในหัวข้อที่ซับซ้อนหลากหลายแขนง เซลล์สมองก็จะมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดยมีการเชื่อมโยงกันในลักษณะคล้ายรูปแบบของห่วงโซ่ ซึ่งหมายความว่ายิ่งสิ่งที่เรียนรู้ซับซ้อนแค่ไหนโซ่ก็จะยิ่งยาวขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับความรู้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
แต่หากเราเอาแต่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และไม่ได้ทำการฝึกฝนหรือทบทวนเรื่องที่เคยเรียนรู้ไปแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป ดังนั้นหัวใจสำคัญของแนวคิด Learning How to Learn อีกสิ่งหนึ่ง คือ การทบทวนฝึกฝนในองค์ความรู้เก่า ๆ ที่ไม่ควรละเลย หากทำควบคู่ไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จะทำให้การเรียนรู้ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้นำความรู้เดิมมาใช้ผนวกเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังเรียนรู้อยู่ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทักษะต่าง ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม
สรุป
การเรียนรู้ตามแนวคิด Learning How to Learn นั้นไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้อย่างจริงจังและตึงเครียดที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพได้ แต่สมองของมนุษย์ก็ต้องการความผ่อนคลายเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การพักผ่อนก็สามารถอยู่ในสภาวะแห่งการเรียนรู้ได้ ดังนั้นควรปรับตัวให้เหมาะสมแล้วการเรียนรู้ของคุณจะสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น