Digital Learning: การเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอนาคตของการศึกษา

สำรวจ Digital Learning แนวทางการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจยิ่งขึ้น

Category :

Digital Learning

Digital Learning: การเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอนาคตของการศึกษา

Digital Learning แนวทางการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยช่วยให้การเรียนรู้เกิดความสะดวกสบายและไร้พรมแดนเข้าถึงคำที่กล่าวว่า “การศึกษาที่ไร้ขีดจำกัด” มากยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะสมกับโลกยุคใหม่ที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ข้อมูลต่าง ๆ ล้วนเปลี่ยนแปลงเป็นรายนาทีอยู่ตลอดเวลา

Digital Learning คืออะไร

Digital Learning คือ การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีที่มีเครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โดยมีสื่อการเรียนการสอนออนไลน์เป็นเสมือนอาวุธสำคัญของผู้เรียนและผู้สอนในการเข้าถึงแหล่งความรู้และใช้สร้างสรรค์งานได้อย่างสะดวก นิยมใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบ Digital Learning ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการเล่าเรียน และสามารถปรับหลักสูตรหรือรูปแบบของการศึกษาให้เหมาะสมได้ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีได้อย่างดี

ประเภทของ Digital Learning

Digital Learning เป็นนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในยุคใหม่เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของผู้เรียนและผู้สอน เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในระบบห้องเรียนแบบเดิม ๆ เท่านั้นมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการและพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลนั้นสามารถแยกย่อยออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. การเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning)
  2. การเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน (App-Based Learning)
  3. การเรียนรู้ผ่านสื่อสังคม (Social Media Learning)
  4. การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality Learning)

ประโยชน์ของ Digital Learning

การมีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายนั้นทำให้นักพัฒนาด้านการศึกษายุคใหม่ได้ค้นพบประโยชน์และวิธีการใช้ Digital Learning ในการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า โดยประโยชน์ของการเรียนรู้ในรูปแบบ Digital Learning มีดังนี้

  1. มีความสะดวกสบายและความยืดหยุ่นสามารถปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้ด้วยตนเอง
  2. การเรียนรู้ตามความเร็วของผู้เรียน (Self-Paced Learning)
  3. การเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ผ่านการใช้งานเทคโนโลยี

วิธีการนำ Digital Learning มาใช้ในห้องเรียน

Digital Learning เป็นเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าเข้ามาปฏิวัติวงการการศึกษาเลยทีเดียว เนื่องจากส่งผลกระทบต่าง ๆ ทางบวกมากมายไม่ว่าจะเป็นการสร้างอิสระในการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อีกทั้งยังช่วยสร้างแรงกระตุ้นทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่จะนำ Digital Learning มาใช้ในห้องเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จะต้องควบคู่กับการรู้จักสื่อการสอนต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อน

1. การใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์

แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ (Online Learning Platform) คือ ระบบบริการออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอน สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล เครื่องมือ และทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ม Digital Learningได้อย่างเสรี โดยเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีความสะดวกสบายและเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน 

2. การใช้แอปพลิเคชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

การใช้เทคโนโลยี Digital Learning ในห้องเรียนจัดการเรียนรู้ อย่างการใช้แอปพลิเคชันมาเป็นเทคนิคในการช่วยในกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การใช้ Google Classroom ช่วยให้ผู้สอนสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้ผ่านการโพสต์และให้คะแนนงาน รวมไปถึงสร้างตัวชี้วัดอย่างการสร้างแบบทดสอบ เป็นต้น ด้วยฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากมาย แอปพลิเคชันการศึกษาช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบโต้ตอบและช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีภายในห้องเรียนขึ้นมาได้ 

นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรู้ Digital Learning ต่าง ๆ ก็สามารถใช้แอปพลิเคชันเสริมสร้างการเรียนรู้ที่มาพร้อมความสนุกได้ เช่น ClassDojo, Flipgrid, Task123, Q Info, Quizizz, Wordwall เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอน การสะท้อนผลของผู้เรียนรวมไปถึงการวัดและประเมินผล

การใช้แอปพลิเคชันเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ทำให้การโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอนง่ายยิ่งขึ้น

3. การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในห้องเรียน

เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ AR (Augmented Reality) คือ เทคโนโลยี Digital Learning ที่นำโลกจริงและโลกเสมือนผนวกเข้าด้วยกัน การกระทำต่าง ๆ ของผู้เรียนในโลกจริงจะปรากฏผลลัพธ์บนโลกเสมือน ซึ่งสามารถนำมาเสริมสร้างการเรียนรู้ภายในห้องเรียนได้ในรูปแบบการสร้างเหตุการณ์เสมือนจริงที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ในโลกเสมือนหรือที่เรียกว่า Simulator นั่นเอง

การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในห้องเรียน

4. การใช้เครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกันออนไลน์ (Collaborative Tools)

Collaborative Tools เป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล โดยเฉพาะในด้านการจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล การสื่อสาร และการจัดการเอกสาร ดังนั้นเมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับ Digital Learning ในด้านการศึกษาจึงทำให้การเรียนรู้มีความสะดวก เข้าถึงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในระบบออนไลน์ มีข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลาลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน อีกทั้งยังมีฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นส่งผลให้สามารถเรียนรู้เนื้อหาได้โดยตรงจากผู้สอน 

สรุป

ในยุคดิจิทัลสื่อเทคโนโลยี Digital Learning เป็นเครื่องมือทางการศึกษาที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เข้ามาช่วยให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ รวมไปถึงสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้เรียนต่างก็มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อีกทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รองรับการเรียนรู้นั้นมีค่อนข้างหลากหลาย และเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดสมรรถนะต่าง ๆ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาบูรณาการร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การใช้เทคโนโลยี Digital Learning ในห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

บทความที่เกี่ยวข้อง