กิจกรรม Scratch ( สแครช ) โปรแกรมโค้ดดิ้งสำหรับเด็ก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

กิจกรรม Scratch เนื้อหาง่าย ๆ สำหรับเด็ก และผู้เริ่มต้นเรียนสแครช ทุกโปรเจคสามารถสร้างผ่าน โปรแกรม scratch ได้ทั้งหมด สามารถนำไปปรับใช้ในการฝึกฝนกระบวนการคิดเพื่อสร้างความสามารถด้านโค้ดดิ้ง

Category :

กิจกรรม Scratch

กิจกรรม Scratch (สแครช) โปรแกรมโค้ดดิ้งสำหรับเด็ก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

การมีทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบหรือการมีทักษะด้านการโค้ดดิ้งนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการสร้างเสริมให้น้อง ๆ มีทักษะด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีและการแก้ไขปัญหา ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบของกิจกรรม Scratch (สแครช) กำลังเป็นที่แพร่หลายอย่างมากสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการมีพื้นฐานการโค้ดดิ้ง

โปรแกรม Scratch คืออะไร 

โปรแกรม Scratch คือ โปรแกรมสร้างเกมและแอนิเมชันในรูปแบบการใช้บล็อกคำสั่งที่สามารถใช้งานได้ง่าย มีความยืดหยุ่น ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานการโค้ดดิ้งและโปรแกรมมิ่ง เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการสร้างคำสั่งเพื่อสั่งการคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องมีความรู้ทางด้านการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์หรือเทคนิคเกี่ยวกับการเขียนโค้ดที่ซับซ้อน

ประโยชน์ของโปรแกรม Scratch มีอะไรบ้าง ?

  1. สามารถเรียนรู้และใช้งานได้ง่ายแม้ไม่มีพื้นฐานหรือความรู้ด้านการโค้ดดิ้งมาก่อน เนื่องจากโปรแกรม Scratch ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป การเรียนรู้กิจกรรม Scratch นั้นเหมาะในการเป็นกิจกรรมฝึกฝนทักษะเพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 อย่างเช่น การสอนให้น้อง ๆ มีตรรกะ ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
  1. การเรียนรู้โปรแกรม Scratch เป็นการส่งเสริมให้น้อง ๆ มีพื้นฐานสำคัญเพื่อนำไปต่อยอดในการเรียนรู้ภาษาในระดับสูงขึ้น โดยกิจกรรม Scratch จะสอนให้น้อง ๆ ได้เริ่มเรียนรู้จากกระบวนการเขียนโค้ดเบื้องต้นและนำวิธีการเหล่านั้นไปพัฒนาต่อยอดสู่การเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงต่อไป
  1. การที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้กิจกรรม Scratch จะช่วยให้น้อง ๆ มีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งช่วยสร้างเสริมให้น้อง ๆ มีทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยี อีกทั้งยังเกิดความสนุกสนานช่วยกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการนำแนวคิดไปใช้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการบริหารโครงการและการพัฒนาทักษะทางสังคมอีกด้วย

ก่อนเริ่มพื้นฐานต้องทำอะไรก่อน

เนื่องจาก Scratch นั้นเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการเรียนรู้ Coding ที่น้อง ๆ สามารถเข้าใช้ได้ฟรีแต่ในการเริ่มต้นใช้งาน Scratch ก็ยังจำเป็นที่จะต้องทำการลงทะเบียนสมัครสมาชิกเพื่อการใช้งานที่ครอบคลุม เพราะถึงแม้ว่าน้อง ๆ จะสามารถสร้างโปรเจ็คได้แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกแต่ปัญหาคือน้อง ๆ จะไม่สามารถ Save หรือบันทึกผลงานที่สร้างได้ ดังนั้นจึงอยากจะแนะนำให้น้อง ๆ สมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานจะเป็นการดีกว่า โดยการสมัครใช้งาน Scratch นั้นก็ง่ายมากไม่มีอะไรซับซ้อน น้อง ๆ สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย

1. เปิด Web Browser แล้วเข้าไปที่โปรแกรมสแครช https://scratch.mit.edu/

2. สังเกตที่แถบเมนูด้านบน คลิก Join Scratch ตามรูปด้านล่าง

3.หลังจากนั้นจะปรากฏกล่องข้อความและคำถามข้อมูลส่วนตัวเบื้อต้นขึ้นมา ให้น้อง ๆ กรอกข้อมูลตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ ประมาณ 6 ขั้นตอนก็จะเป็นการเสร็จสิ้นการสมัครสมาชิกและสามารถเข้าใช้งานโปรแกรม Scratch ได้อย่างไม่ต้องกังวล

ขั้นตอนการเลือกเนื้อหาสำหรับฝึกฝน

เนื่องจาก Scratch เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นและมีความสามารถวร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างผลงานแอนิเมชั่นในขั้นเบื้องต้นไปจนถึงการสร้างเกมที่มีเงื่อนไขในการทำงานระดับสูง ซึ่งในวันนี้ทาง Code Genius จะขอแนะนำสำหรับการเลือกฝึกฝนการใช้งานโปรแกรมสแครชสำหรับมือใหม่ ที่มีหลักการทำงานที่เข้าใจง่ายอย่างโปรเจคเกม Collect Star, เกม Hit the Squirrel นอกจากนี้ยังมีเกมอื่น ๆ น่าสนใจอีกมากมายสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมวิธีการสร้างโปรเจคเกมต่าง ๆ ได้ที่ เกม Scratch

เมื่อมีความเข้าใจในการเรียน Scratch แล้ว ทำอะไรต่อ ?

เมื่อน้อง ๆ มีพื้นฐานด้านการ Coding จากการเรียนรู้โปรแกรม Scratch แล้วและมีความสนใจในการศึกษาและฝึกฝนในรูปแบบ Block programming เพิ่มเติม Code Genius มีโปรแกรมที่น่าสนใจอย่าง MicroBit และ Python ที่ออยากจะมาแนะนำให้รู้จักเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 โปรแกรมที่กล่าวถึงนี้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบของ Block programming เช่นเดียวกับ Scratch โดยน้อง ๆ สามารถเรียงลำดับการเรียนรู้ได้ดังนี้

1. MicroBit

MicroBit เป็นแพลตฟอร์ม Block programming ที่มีความคล้ายคลึงด้านการใช้งานรูปแบบเดียวกับโปรแกรม Scratch แต่มีความแตกต่างตรงที่ MicroBit มีความสามารถด้านการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้หอลากหลายมากกว่า เนื่องจากแพลตฟอร์มของ MicroBit ถูกพัฒนาควบคู่กับไมโครคอนโทลเลอร์บอร์ด ดังนั้นจึงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการสร้างโปรเจคที่สามารถจับต้องได้มากกว่าสแครชนั่นเอง 

2. Python

ภาษา Python หรือภาษาไพทอน มักจะถูกจดจำกันในรูปแบบภาษาระดับสูงที่มีความยืดหยุ่น แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายเกินไปสำหรับมือใหม่ที่ต้องการฝึกพื้นฐานการ Coding นอกจากการใช้งานที่จะต้องเขียนโปรแกรมตามหลักอย่างยุ่งยากแล้ว น้อง ๆ สามารถเรียนรู้ภาษา Python ได้จากพื้นฐานผ่านการทำความเข้าใจโครงสร้างของภาษาผ่านการป้อนคำสั่งในรูปแบบ Blocked-Programming ในรูปแบบเดียวกับ Scratch โดยใช้แพลตฟอร์ม Edublocks: https://edublocks.org/ ได้เช่นกัน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ Python

สรุป

การเรียนรู้พื้นฐานการ Coding สำหรับมือใหม่นั้นสามารถเรียนรู้ได้ผ่านกิจกรรม Scratch ที่อยู่ในรูปแบบของบล็อกคำสั่งเป็นการฝึกเขียนโค้ดที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนวิธีการจัดการเงื่อนไขและโครงสร้างของการเขียนโปรแกรม ซึ่งนอกจากโปรแกรม Scratch แล้วยังมี Micro:bit และ Python ที่น้อง ๆ สามารถเรียนรู้ได้ผ่านการลากวางบล็อกคำสั่ง (Block programming) เช่นกัน ซึ่งเป็นการฝึกทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการใช้ตรรกะให้กับน้อง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการเติบโตในโลกสมัยใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง