Data analyst นักวิเคราะห์ข้อมูล อาชีพน่าจับตามองในโลกของ Big Data

Data analyst ทำอะไรบ้าง อาชีพที่สำคัญในโลกยุคดิจิตอล นักวิเคราะห์ข้อมูล

Category :

Data analyst / นักวิเคราะห์ข้อมูล

Data analyst นักวิเคราะห์ข้อมูล อาชีพสำคัญ

ในการทำธุรกิจต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดมักจะเป็นความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้บริหารเป็นหลัก แต่ในยุคสมัยนี้ที่สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจในยุคดิจิตอลนั้นจึงกลายเป็นข้อมูล ที่จะช่วยเข้ามาในการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ อีกทั้งยังส่งผลไปถึงการวางแผน และการทำให้กิจกรรมที่ทำอยู่บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่แค่ในโลกธุรกิจ แต่ยังรวมไปถึงด้านอื่น ๆ ในสังคม

จากข้างต้นทำให้ทราบได้ว่า Big Data กลายเป็นสิ่งสำคัญทั้งในด้านขององค์ความรู้ที่มีผลต่อสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในอาชีพที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมายและการทำงานสาย Data ยังเป็นสายงานซึ่งถือเป็นหนี่งใน Key Position ของธุรกิจต่าง ๆ อย่างอาชีพ Data Analyst หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูลนั่นเองที่จะคอยดูแลความปลอดภัยและจัดการข้อมูลสำคัญในธุรกิจต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวไปในข้างต้น

Data analyst คือ? ทำไมถึงสำคัญต่ออนาคตของลูกเรา

Data Analytyst หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูล คือ คนที่นำข้อมูลขนาดใหญ่ของลูกค้า (Big Data) มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำข้อมูลดิบ (Raw Data) ซึ่งมักจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร มาจัดประเภท วิเคราะห์ และประมวลผลให้กลายเป็น ‘ข้อมูลเชิงลึก’ (Insight) ที่จะช่วยตอบคำถามต่างๆ ให้แก่บริษัทหรือองค์กร 

โดยข้อมูลที่ถูกนำมาวิเคราะห์เหล่านั้นโดยนัก Data Analyst จะแสดงให้เห็นตั้งแต่พฤติกรรมของลูกค้า ความพึงพอใจ ปัญหาของธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะเป็นส่วนช่วยให้ผู้บริหารภายในองค์กรตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด และพาบริษัทหรือองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

เงินเดือน Data analyst เยอะขนาดไหน?

การจะเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลได้ต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือ มีความเข้าใจแนวคิดในด้านธุรกิจ (Business Domain) ที่จะต้องสามารถวิเคราะห์ และทำแผนภาพสรุป (Data Visualization) เพื่อให้ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าเข้าใจได้ง่ายและต้องทำได้ดีด้วย อีกทั้งยังต้องถนัดใช้เครื่องมือทางสถิติ เช่น SPSS, Microsoft Excel และ Stata รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลทั่วไป เช่น Tableau, Power BI, Google Data Studio เป็นต้น ที่ขาดไม่ได้คือ นักวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data analyst จะต้องมีทักษะการใช้ภาษาในการเขียนโปรแกรมที่มีจุดเด่นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น SQL, Python, R เป็นต้น

จากข้อมูลข้างต้นนั้น เป็นที่แน่นอนว่าความยากย่อมมาพร้อมกับผลตอบแทนที่สูง โดยเงินเดือนเริ่มต้นของนักวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 45,000 บาท และเมื่อเติบโตเป็นระดับ Manager ขึ้นไป  Data analyst จะได้รับค่าตอบแทนต่อเดือนไม่ต่ำกว่าหลักแสนแน่นอน จึงเป็นผลตอบแทนที่จูงใจคนทำงานด้านไอทีเป็นอย่างมาก

Data analyst เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร

เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยทั้งการตัดสินใจ การวางแผน และการทำให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่แค่ในโลกธุรกิจ แต่ยังรวมไปถึงด้านอื่น ๆ ในสังคมส่งผลให้ Big Data เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญภายในองค์กรและเป็นสิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทำงานเฉพาะด้าน การทำงานเพื่อจัดการกัย Big Data จึงทำให้อาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ขึ้นมามากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Data Analyst เป็นสายงานซึ่งถือเป็นหนี่งใน Key Position ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมายนั่นเอง

Data analyst ทําอะไรบ้าง?

Data Analyst หรืออาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยสัญชาตญาณทางธุรกิจ (Business Sense) ค่อนข้างมาก เพราะต้องเจอกับข้อมูลมากมายและต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและโจทย์ที่หลากหลายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และหากสงสัยว่า Data Analyst ทําอะไรบ้าง Code Genius จะมาให้คำตอบเอง โดยงานสาย Data นั้นมีหน้าที่หลัก ๆ ที่ต้องทำอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. Data Entry คือ ขั้นตอนที่นักวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องแปลงข้อมูลใหญ่อย่าง Big Data ให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน เพราะหลายครั้งที่ข้อมูล Big Data ที่ได้รับมาเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีระบบระเบียบเพราะข้อมูลมีความหลากหลาย อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล ทำให้ Data Analyst ไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ในทันที จึงจะต้องมีกระบวนการทำให้ข้อมูลสะอาดพร้อมใช้งาน ซึ่งเรียกว่า Data Wrangling, Data Transformation หรือ Data Cleaning
  1. Data Analytics หรือ Data Mining คือ ขั้นตอนที่ Data Analyst หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Data ที่มีข้อมูลต่าง ๆ อยู่อย่างกระจัดกระจาย มาหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลเหล่านั้น เพื่อจำแนกแบ่งประเภทข้อมูล หารูปแบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลและจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  1. Reporting หรือ Data Visualization คือ ขั้นตอนรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำมาแล้ว ด้วยภาษาที่สามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้ง่าย โดยไม่ต้องมานั่งอ่านข้อมูลประกอบเพื่อใช้ทำความเข้าใจ โดยนักวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้วิธีนำเสนอ Data Visualization ให้ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างเข้าใจได้โดยนำเสนอข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ผ่านการแผนภาพหรือ Dashboard เพื่อให้การทำงานของทีมที่ต้องนำข้อมูลไปใช้ในขั้นตอนต่อไปทำได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจง่ายและไม่เสียเวลา
  1. Data Management คือ การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบ เพื่อเวลาที่ต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ขึ้นมาจะได้ค้นหาได้ง่าย และสามารถนำมาใช้ทำงานต่อได้ทันที

พัฒนา 5 ทักษะสำคัญของ Data Analyst ต้องเริ่มยังไง?

ในยุคดิจิตอลนี้การที่เด็ก ๆ จะเติบโตเท่าทันโลกที่หมุนอย่างรวดเร็วได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และทักษะเหล่านี้ก็เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่ออาชีพ Data Analyst และการส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้รับการเรียนรู้ในรูปแบบ STEM ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างเสริมและพัฒนาทักษะส่วนนี้ นอกจากนี้การที่จะพัฒนาทักษะให้เด็ก ๆ ได้มีพื้นฐานการเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลก็ควรที่จะส่งเสริม 5 ทักษะต่อไปนี้ให้แข็งแรง

Data analysis ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

อาชีพ Data Analyst นั้นควรที่จะมีพื้นฐานทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสำคัญ โดยการส่งเสริมเด็ก ๆ ให้ทำกิจกรรม STEM ที่ประยุกต์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่มีส่วนช่วยปูพื้นฐานด้านการฝึกคิดวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่เด็ก ๆ เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทำให้เห็นถึงความสนุกน่าสนใจของศาสตร์ที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะการจัดการข้อมูล

การที่ Data Analyst จะนำข้อมูลต่าง ๆ จาก Big Data มาประมวลผลได้นั้นต้องมีการจัดการข้อมูลก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้น ทักษะการจัดการข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิเคราะห์ข้อมูลควรมี โดยการจัดการข้อมูลนั้นมีหลายรูป ได้แก่ 

  1. Data Cleaning หรือ การทำความสะอาดข้อมูล คือ กระบวนการตรวจสอบ การแก้ไข หรือการลบ เพื่อให้รายการข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปจากชุดข้อมูล หรือฐานข้อมูล ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สุดในการจัดการข้อมูล เพราะการทำความสะอาดข้อมูลหมายถึงการกำจัดความไม่สมบูรณ์ ความไม่ถูกต้อง ความไม่สัมพันธ์กับข้อมูลอื่น ๆ ในฐานข้อมูลออกไป 
  1. Data Wrangling  คือ กระบวนการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานเพื่อทำให้คุณภาพของข้อมูลดิบจาก Big Data นั้นดีขึ้นและสามารถทำได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลและเป้าหมายในการใช้งาน กระบวนการ Data Wrangling เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่น่าเบื่อและใช้เวลานานเกินครึ่งของงานด้าน Data Science เพราะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน
  1. Data Mining หรือ เหมืองข้อมูล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซ่อนอยู่ โดยทำการจำแนกประเภท รูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้ได้องค์ความรู้หรือข้อมูลใหม่ ที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือประกอบการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ 

Problem solving ทักษะการแก้ปัญหา

อาชีพ Data Analyst นั้นเป็นการทำงานที่จะต้องค้นหา insight หรือข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลดิบทั้งหมด (Big Data) เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำมาแก้ปัญหาให้ตอบโจทย์ของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง ดังนั้น ทักษะการแก้ปัญหาจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในอาชีพนี้ นอกจากนี้ทักษะการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ ที่จะช่วยให้บุคคลสามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สามารถพูดได้ว่าทักษะการแก้ปัญหาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในมนุษย์ทุก ๆ คน ดังนั้น เราจึงควรสร้างเสริมทักษะนี้ให้กับเด็ก ๆ โดยฝึกให้เด็ก ๆ ได้ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเอง เช่น การให้เขาได้รู้จักช่วยเหลือตนเองจากกิจกรรมพื้นฐานและค่อย ๆ เพิ่มความซับซ้อนขึ้นไป ฝึกให้เขาได้ตัดสินใจด้วยตนเองโดยที่เราทำหน้าที่เพียงเฝ้าดูอย่างใจเย็น หรือให้เพียงคำแนะนำให้กับเขาเท่านั้น 

นอกจากนี้หากผู้ปกครองต้องการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skill) ให้กับเด็ก ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ Code Genius เป็นสถาบันสอนโค้ดดิ้งสำหรับเด็กที่สอนตั้งแต่หลักการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนการใช้ทักษะการแก้ปัญหาและนำไปต่อยอดได้อย่างเหมาะสม 

ทักษะด้าน Coding

Coding คือ ทักษะที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ ย่อยออกมาจากปัญหาใหญ่ๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละขั้น นอกจากนี้ในแต่ละขั้นตอนของการเขียน Coding เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน ที่มีรูปแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ที่เป็นสิ่งสำคัญต่อการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของ Data Analyst เป็นอย่างมาก 

ถ้าหากเด็ก ๆ ต้องการที่จะพัฒนาทักษะ Coding สามารถเริ่มได้ตั้งแต่พื้นฐานตั้งแต่ปฐมวัยโดยการทำกิจกรรม Unplugged Coding ที่เป็นการเรียนรู้ทักษะการ Coding โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สารสนเทศเพื่อให้สอดรับกับพัฒนาการด้านร่างกายและกล้ามเนื้อมือของเด็กเล็กที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ 

นอกจากนี้ยังมี ภาษาเขียนโค้ดสำหรับเด็กในรูปแบบ Block-based Programming อย่างโปรแกรม Scratch ที่ถูกพัฒนามาเพื่อจุดประสงค์เสริมสร้างการเรียนรู้ Coding ให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะ Scratch เป็นโปรแกรมที่เหมาะสมในการเริ่มพัฒนาทักษะต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำหลักการไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ในระดับสูงขึ้นที่ใช้ในวิชาชีพ Data Analyst อย่างเช่น ภาษา Python, R และ SQL ในการวิเคราะห์ข้อมูล

Data visualization

การแสดงข้อมูลที่มีความกระจัดกระจายและซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย เป็นหนึ่งทักษะจำเป็นที่ Data Analyst จะต้องมี และนอกจากการทำสไลด์ Presentation เพื่อรายงานแล้วนักวิเคราะห์ข้อมูล ต้องสามารถทำ Automated Dashboard ที่สามารถอัปเดตข้อมูลให้ลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างสามารถเช็กหรือเข้าดูข้อมูลผลประกอบการได้แบบ Real-time เพื่อตอบสนองโลกธุรกิจยุคดิจิตอลที่มีการแข่งขันสูง ดังนั้น การแข่งขันกันเชิงธุรกิจในยุคนี้จึงจะต้องอาศัยความรวดเร็วเป็นสำคัญ

Data storytelling

Data Storytelling หรือ การสื่อสารข้อมูล เป็นศาสตร์ที่นักวิเคราะห์ข้อมูลสามารถใช้สื่อสารให้คนอื่นได้เข้าใจว่าข้อมูลนั้นมีดีหรือมีประโยชน์อย่างไรและยังช่วยให้ผู้ที่ทำงานกับข้อมูลเหล่านั้นได้มีโอกาสทบทวน เพื่อทำความเข้าใจข้อมูลตรงหน้ามากยิ่งขึ้น ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีที่มาจากไหน ทำงานกับข้อมูลเหล่านี้ไปเพื่ออะไร แล้วผลลัพธ์ที่ได้จากข้อมูลเหล่านี้ สามารถต่อยอดหรือสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับใครในด้านใดได้บ้างนั่นเอง

พัฒนาลูกให้เป็น Data analyst กับ Code Genius 

การที่จะประกอบอาชีพ Data Analyst จำเป็นที่จะต้องมีทักษะการ Coding และรู้จักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนโดยการสร้างเสริมทักษะเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการให้เด็ก ๆ ได้เรียน Coding ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานเพื่อฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล อีกทั้งยังสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง CodeGeniusAcademy เป็นสถาบันสอนโค้ดดิ้งสำหรับเด็ก ที่มีหลักสูตรสอน Coding ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ ทุกช่วงวัยเพื่อเสริมสร้างทักษะส่วนบุคคลที่สำคัญในโลกยุคใหม่ให้กับเด็ก ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง